Table of Contents Table of Contents
Previous Page  72 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 72 / 254 Next Page
Page Background

14.3 การแลกเปลี่ยนแก๊สและการลำ�เลียงแก๊ส

จุดประสงค์การเรียนรู้

สืบค้นข้อมูล และอธิบายโครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส

และการลำ�เลียงแก๊สของมนุษย์

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำ�ถามเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สของมนุษย์ ดังนี้

การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นที่ใดบ้าง

อากาศที่นักเรียนหายใจเข้ามี O

2

สูง เมื่อเข้าสู่ถุงลม O

2

เหล่านี้จะเข้าสู่เลือดได้อย่างไร

O

2

จะเคลื่อนเข้าสู่เซลล์และ CO

2

จะเคลื่อนออกจากเซลล์ได้อย่างไร

ร่างกายมีวิธีกำ�จัด CO

2

ออกได้อย่างไร

จากการอภิปราย คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษารูป 14.11

ในหนังสือเรียน แล้วสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อมีความ

ดันย่อยของแก๊สแตกต่างกัน

PM 10 คือ ฝุ่นหยาบที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางในช่วง 2.5-10 ไมโครเมตร เมื่อเข้าสู่ทางเดิน

หายใจจะทำ�ให้เกิดการระคายเคือง เนื้อเยื่อปอดถูกทำ�ลาย

PM 2.5 คือ ฝุ่นละเอียดที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งสามารถเข้าสู่

ถุงลมในปอดและระบบหมุนเวียนเลือดได้ ผู้ที่สูดฝุ่นนี้เข้าไปในปริมาณมาก จะทำ�ให้เกิดการ

ระคายเคืองต่อตาและทางเดินหายใจปอดจะแลกเปลี่ยนแก๊สได้ลดลงและหัวใจอาจทำ�งานหนักขึ้น

ทั้งนี้ในการป้องกันควรมีการควบคุมแหล่งกำ�เนิดฝุ่นละออง และป้องกันการได้รับฝุ่นละออง

ด้วยการใส่หน้ากากที่เหมาะสม

ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558, 1 เมษายน).

แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทาง

อากาศกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก

. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561, จาก

http://hia.anamai.moph.go.th/more_

news.php?cid=317&filename=index

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 14 | ระบบหายใจ

ชีววิทยา เล่ม 4

60