Table of Contents Table of Contents
Previous Page  32 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 32 / 284 Next Page
Page Background

4.3.2 การควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของ DNA

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน โดยอาจใช้คำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายดังนี้

โปรตีนเป็นส่วนประกอบส่วนใดของร่างกายของสิ่งมีชีวิต

โปรตีนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายอย่างไร

จากการอภิปรายนักเรียนอาจยกตัวอย่างสารในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นโปรตีน เช่น

ฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง และเอนไซม์ที่ทำ�หน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่าง ๆ ในร่างกาย

ครูให้นักเรียนศึกษารูป 4.15 ซึ่งเป็นรูปเซลล์ 2 ชนิดในต่อมไทรอยด์ คือ เซลล์ฟอลลิคิวลาร์ที่มี

โปรตีนสำ�หรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน และเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์ที่สร้างฮอร์โมน

แคลซิโทนิน และถามนักเรียนว่า

ถ้าเซลล์ทั้ง 2 ชนิดมาจากบุคคลเดียวกันซึ่งมีข้อมูลทางพันธุกรรม

ใน DNA เหมือนกัน เพราะเหตุใดจึงมีรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่ที่แตกต่างกัน

เพื่อให้นักเรียน

อภิปรายร่วมกันเพื่อได้ข้อสรุปว่า แม้ว่าเซลล์ในบุคคลเดียวกันจะมีข้อมูลทางพันธุกรรมใน DNA เหมือน

กันแต่มีการแสดงออกของยีนและสังเคราะห์โปรตีนที่แตกต่างกัน จากนั้นอาจใช้คำ�ถามดังนี้

ลำ�ดับ

ด้านความรู้

-

สมบัติและหน้าที่ของสารพันธุกรรม โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของ DNA และ

การจำ�ลองดีเอ็นเอจากการทำ�กิจกรรม การทำ�แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ

ด้านทักษะ

-

การสังเกตและการลงความเห็นจากข้อมูล

-

การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ ความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีม และภาวะผู้นำ�

จากการอภิปรายร่วมกันและการนำ�เสนอ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

-

การใช้วิจารณญาณจากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�กิจกรรมและการอภิปรายร่วมกัน

แนวการวัดและประเมินผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

20