Table of Contents Table of Contents
Previous Page  31 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 31 / 284 Next Page
Page Background

ครูถามนักเรียนเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายเพิ่มเติมว่า

สิ่งที่จำ�เป็นในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอมีอะไรบ้าง

ขั้นตอนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอเป็นอย่างไร

จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นการสังเคราะห์ดีเอ็นเอและศึกษารูป 4.13 ในหนังสือเรียน แล้วให้

นักเรียนอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับการสังเคราะห์ DNA สายใหม่ 2 สาย ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้

1. เอนไซม์เฮลิเคสทำ�ให้ DNA เกลียวคู่คลายเกลียวแยกออกจากกัน ดีเอ็นเอแม่แบบ 2 สาย

ที่แยกออกจากกันมีทิศทางจากปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′ สวนทางกัน

2. DNA สายที่มีปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′ สวนทางกับการเคลื่อนที่ของเอนไซม์เฮลิเคสจะเป็น

แม่แบบของการสร้าง DNA สายใหม่จากทิศทาง 5′ ไปยังปลาย 3′ อย่างต่อเนื่องเป็นสาย

ยาว DNA สายใหม่นี้เรียกว่า ลีดดิงสแทรนด์

3. DNA อีกสายหนึ่งที่มีปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′ ทิศทางเดียวกับที่เอนไซม์เฮลิเคสเคลื่อนที่จะ

ไม่สามารถเป็นแม่แบบเพื่อสร้างสาย DNA ได้อย่างต่อเนื่อง การสร้าง DNA สายใหม่จึง

สร้างเป็นสายสั้นๆ และจะมีเอนไซม์ดีเอ็นเอไลเกสเชื่อม DNA สายใหม่ที่เป็นสายสั้นๆ เข้า

ด้วยกันเป็นสายยาวเรียกว่า แลกกิงสแทรนด์

4. การสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่จะมีเอนไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอเรสทำ�หน้าที่เชื่อมนิวคลีโอไทด์

ให้เป็นสายยาว ทั้งสำ�หรับลีดดิงสแทรนด์และแลกกิงสแทรนด์

ครูอาจเน้นให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้นว่า ในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ จะต้องมีทิศทางจาก

ปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′ เสมอ เนื่องจากเอนไซม์ดีเอ็นเอพอลิเมอเรสจะทำ�งานโดยทำ�หน้าที่เชื่อม

นิวคลีโอไทด์ต่อกันเป็นสายยาวจากปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′ และอีกประการหนึ่งคือ DNA สายใหม่อีก

สายหนึ่งไม่สามารถสร้างต่อกันเป็นสายยาวได้ เนื่องจากทิศทางการสร้างจากปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′

นั้นสวนทางกับทิศทางการคลายเกลียวของ DNA โมเลกุลเดิม จากนั้นตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่ง

มีแนวคำ�ตอบดังนี้

หากพิจารณาบริเวณด้านขวาของจุดเริ่มต้นของการจำ�ลองตัว ซึ่ง DNA มีทิศทางการคลาย

เกลียวและแยกออกจากกันไปในทิศทางด้านขวา DNA สายบนจะยังคงเป็นแม่แบบสำ�หรับการ

สร้างลีดดิงสแทรนด์หรือไม่ อย่างไร

การสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ จะต้องมีทิศทางจากปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′ เสมอ โดยกรณีนี้

สายบนจะเป็นแม่แบบสำ�หรับการสร้างแลกกิงสแทรนด์ ส่วนสายล่างจะสร้างลีดดิงสแทรนด์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

19