Table of Contents Table of Contents
Previous Page  214 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 214 / 284 Next Page
Page Background

การเกิดซากดึกดำ�บรรพ์

ซากดึกดำ�บรรพ์ คือ ซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้วเป็นเวลานานและถูกรักษาสภาพ

ไว้ ซึ่งอาจเกิดได้ในหลายลักษณะ เช่น

- จมอยู่ในน้ำ� และมีโคลนหรือตะกอนทับถมอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้แร่ธาตุในน้ำ�ซึมเข้าสู่

กระดูกและฟัน หรือเนื้อเยื่อ และเกิดการตกผลึกทำ�ให้ส่วนนั้นๆ แข็งขึ้น

- เกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน เช่น รอยประทับของเปลือกหอย

- ถูกเก็บรักษาสภาพไว้ในยางไม้ เช่น ซากแมลงในอำ�พัน

นอกจากนี้ซากดึกดำ�บรรพ์อาจเป็นร่องรอยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น รอยเท้าที่อยู่ในชั้นตะกอน

มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

จากนั้นให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดซากดึกดำ�บรรพ์ และให้นักเรียนร่วมกัน

อภิปรายโดยใช้ตัวอย่างคำ�ถามดังนี้

ซากดึกดำ�บรรพ์เกิดขึ้นได้อย่างไร

ตัวอย่างซากดึกดำ�บรรพ์ที่พบปรากฏอยู่ในลักษณะใดบ้าง

จากการสืบค้นและอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรสรุปได้ว่าซากดึกดำ�บรรพ์ คือซากหรือร่องรอย

ของสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้วอาจจมอยู่ในน้ำ�และมีโคลนหรือตะกอนทับถมอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้แร่ธาตุใน

น้ำ�ซึมเข้าสู่กระดูกและฟันหรือเนื้อเยื่อ และเกิดการตกผลึกภายในเนื้อเยื่อเมื่อผ่านไปเป็นเวลานาน

ตัวอย่างซากดึกดำ�บรรพ์ที่เกิดจากกระบวนการนี้ที่พบในประเทศไทย เช่น โครงกระดูกไดโนเสาร์ที่ขุด

พบในจังหวัดขอนแก่น ไม้กลายเป็นหินที่จังหวัดนครราชสีมา สุสานหอย 45 ล้านปีที่จังหวัดกระบี่

นอกจากนี้ซากดึกดำ�บรรพ์ยังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น สิ่งมีชีวิตที่ถูกรักษาสภาพไว้ในยางสน

(อำ�พัน) รอยพิมพ์ของใบไม้ รอยเท้าไดโนเสาร์ เป็นต้น จากนั้นครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียน

เกี่ยวกับกระบวนการเกิดซากดึกดำ�บรรพ์ในลักษณะต่าง ๆ

ครูให้ความรู้แก่นักเรียนเพิ่มเติมว่า สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่พบมาตั้งแต่อดีตและยังคงมีลักษณะที่

ใกล้เคียงกับปัจจุบันทั้งสัตว์และพืช เช่น ปลาซีลาแคนธ์ แมงดาทะเล หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง

และแปะก๊วย เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดว่าเป็นซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตคงสภาพดึกดำ�บรรพ์ โดย

ครูอาจใช้คำ�ถามเพิ่มเติมดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

202