Table of Contents Table of Contents
Previous Page  210 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 210 / 284 Next Page
Page Background

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอาจนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนดูภาพซากดึกดำ�บรรพ์ต่างๆ เช่น โครงกระดูกไดโนเสาร์

หรืออาจใช้ข่าวหรือคลิปวีดิทัศน์เกี่ยวกับการขุดค้นพบซากดึกดำ�บรรพ์ หรืออาจนำ�นักเรียนไปยังแหล่ง

เรียนรู้เกี่ยวกับซากดึกดำ�บรรพ์ในท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสงสัยและอยากเรียนรู้

ต่อไป โดยอาจใช้ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปราย ดังนี้

ซากดึกดำ�บรรพ์ของสิ่งมีชีวิตที่นักเรียนเห็นมีลักษณะอย่างไร และมีโครงสร้างใดคล้ายกับ

สิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน เป็นไปได้หรือไม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึง

ปัจจุบัน

หรือครูอาจใช้รูปซากดึกดำ�บรรพ์ของอาร์คีออพเทอริกซ์ (

Archaeopteryx

) จากภาพนำ�บทใน

หนังสือเรียน โดยอาจใช้คำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่การอภิปราย ดังนี้

ซากดึกดำ�บรรพ์ของอาร์คีออพเทอริกซ์นี้มีโครงสร้างใดคล้ายกับสิ่งมีชีวิตใดในปัจจุบัน

- มีร่องรอยที่ชัดเจนของการมีขนแบบขนนก (feather) ที่บริเวณปีกและหางซึ่งคล้ายกับ

สัตว์ปีกในปัจจุบัน

- มีร่องรอยของกระดูกหางยาว ฟันขนาดเล็ก ขามีเกล็ดซึ่งคล้ายกับสัตว์เลื้อยคลานใน

ปัจจุบัน

จากหลักฐานซากดึกดำ�บรรพ์ของอาร์คีออพเทอริกซ์นี้เป็นไปได้หรือไม่ว่าสัตว์เลื้อยคลาน

และนกในปัจจุบันจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน เพราะเหตุใด

อาจเป็นไปได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานและนกมีบรรพบุรุษร่วมกัน เนื่องจากอาร์คีออพเทอริกซ์มี

ลักษณะบางอย่างคล้ายนก เช่น การมีขนแบบขนนกที่บริเวณปีกและหาง ในขณะเดียวกัน

ก็มีลักษณะบางอย่างคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ขามีเกล็ด ฟันขนาดเล็ก กระดูกหางยาว แต่

ทั้งคู่ต่างมีวิวัฒนาการของตนเอง จนกระทั่งปัจจุบันมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้ความรู้จากประสบการณ์เดิม ครูรวบรวมคำ�ตอบของ

นักเรียนไว้ก่อนเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษารายละเอียดของเนื้อหาในหนังสือเรียน หลังจากนั้นจึงให้

นักเรียนกลับมาตรวจสอบว่าคำ�ตอบของนักเรียนถูกต้องหรือไม่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

198