Table of Contents Table of Contents
Previous Page  180 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 180 / 284 Next Page
Page Background

นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างภายในเซลล์สาหร่ายหางกระรอก

นอกจากโครงสร้างของเซลล์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส คลอโรพลาสต์ แล้วยังเห็นการ

ไหลเวียนของไซโทพลาซึมที่เรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis)

ถ้าวัตถุที่นำ�มาศึกษามีความบางและใสมาก เช่น เซลล์เยื่อบุด้านในข้างแก้มที่ไม่ย้อม

สารละลายไอโอดีน เมื่อต้องการให้เห็นวัตถุชัดเจนขึ้นจะต้องปรับส่วนประกอบใดของกล้อง

และปรับอย่างไร

ปรับไดอะแฟรม โดยปรับให้ช่องของไดอะแฟรมแคบลงเพื่อให้แสงเข้าน้อยลง

จากการศึกษาเซลล์เยื่อหอม สาหร่ายหางกระรอก และเยื่อบุด้านในข้างแก้มภายใต้

กล้องจุลทรรศน์พบโครงสร้างของเซลล์เหล่านี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

โครงสร้างของเซลล์ที่เหมือนกัน คือ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส

โครงสร้างของเซลล์ที่แตกต่างกันคือพบผนังเซลล์ในเซลล์เยื่อหอมและสาหร่ายหางกระรอก

และคลอโรพลาสต์ในเซลล์สาหร่ายหางกระรอก ซึ่งไม่พบโครงสร้างดังกล่าวในเซลล์เยื่อบุ

ด้านในข้างแก้ม

ครูให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนการทำ�กิจกรรมตอนที่ 4 การคำ�นวณหาขนาดของวัตถุ และ

อาจสาธิตวิธีการวางไม้บรรทัดพลาสติกโดยให้สเกลแรกของไม้บรรทัดที่เห็นในจอภาพชิดกับ

ขอบซ้ายของจอภาพ หรืออาจใช้รูปวิธีการวางไม้บรรทัดบนแท่นวางวัตถุ ประกอบการอธิบาย

และให้หาเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพที่ขนาดกำ�ลังขยายต่าง ๆ โดยที่กำ�ลังขยายต่ำ�สุด

สามารถวัดขนาดจอภาพโดยใช้ไม้บรรทัดได้โดยตรง ส่วนที่กำ�ลังขยายสูงขึ้นสามารถหาเส้นผ่าน

ศูนย์กลางของจอภาพโดยการคำ�นวณ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ภาพสเกลไม้บรรทัดภายใต้กล้องจุลทรรศน์โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำ�ลังขยาย 4×

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

168