Table of Contents Table of Contents
Previous Page  61 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 61 / 194 Next Page
Page Background

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายบทบาทของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ทำ�หน้าที่ป้องกันและทำ�ลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม

2. อธิบายและเขียนแผนผังเกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะและ

แบบจำ�เพาะ

3. สืบค้นข้อมูล อธิบายสาเหตุ อาการ แนวทางป้องกัน และการรักษาโรคที่เกิดจากความผิดปกติ

ของระบบภูมิคุ้มกัน

4. สืบค้นข้อมูล อธิบายกลไกของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HIV

5. ระบุสาเหตุ และวิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV

แนวการจัดการเรียนรู้

2.4.1 กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยนำ�ภาพหรือข่าวการแพร่ระบาดของโรคที่กำ�ลังเป็นที่สนใจ เช่น โรคติดเชื้อ

ไวรัสซิก้า (ziga virus) โรคไข้เลือดออก หรือโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับสาเหตุ และการป้องกันโรค จากนั้นครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายดังนี้

เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้อย่างไร เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่ก่อ

ให้เกิดอันตรายได้แก่อะไรบ้าง

นักเรียนเคยป่วยเป็นไข้หวัดหรือไม่ ถ้านักเรียนมีอาการป่วยควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อ

ให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ

จากการอภิปรายนักเรียนควรบอกได้ว่าเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง

เช่น ทางบาดแผลบริเวณผิวหนัง ทางช่องเปิดของร่างกาย เช่น จมูก ปาก ตา เป็นต้น หรือการสัมผัสสาร

คัดหลั่ง (เช่น น้ำ�ลาย น้ำ�มูก) การหายใจ เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้แก่ ไวรัส

แบคทีเรีย พยาธิ รา เกสรดอกไม้ สารพิษ เป็นต้น สำ�หรับการปฏิบัติตนเมื่อมีอาการป่วยนักเรียนอาจตอบ

ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักเรียน

จากนั้นครูให้คำ�อธิบายเพิ่มเติมว่าร่างกายมีกลไกในการต่อต้านและทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่

ร่างกาย แต่ถ้าสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ภายในร่างกายได้ก็จะเกิดการเจ็บป่วยขึ้น แต่การ

ที่บางคนยังมีสุขภาพแข็งแรง หรือบางคนที่มีอาการป่วยแต่สามารถหายป่วยได้อย่างรวดเร็วเนื่องจาก

ร่างกายของคนนั้นมีภูมิคุ้มกัน

2.4 ระบบภูมิคุ้มกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

47

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ