Table of Contents Table of Contents
Previous Page  58 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 58 / 194 Next Page
Page Background

ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการเกิดความร้อนในร่างกาย โดยใช้คำ�ถามว่า

กิจกรรมต่างๆ ใน

ชีวิตประจำ�วันทำ�ให้เกิดความร้อนในร่างกายได้อย่างไร และร่างกายมีการรักษาอุณหภูมิให้คงที่

ได้อย่างไร

ซึ่งผลการอภิปรายจะนำ�ไปสู่ข้อสรุปว่าความร้อนในร่างกายเกิดจากกระบวนการสลาย

สารอาหารระดับเซลล์เพื่อให้ได้พลังงานไปใช้ในการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งร่างกายจำ�เป็นต้องมีการ

รักษาอุณหภูมิให้คงที่อยู่เสมอ เพื่อเป็นการรักษาสภาพการทำ�งานของเอนไซม์ไว้ นอกจากนี้การ

เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกก็ทำ�ให้ร่างกายต้องรักษาอุณหภูมิไม่ให้เปลี่ยนไปตาม

สิ่งแวดล้อมภายนอกด้วยเช่นกัน จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาและสืบค้นกลไกการรักษาดุลยภาพของ

อุณหภูมิในร่างกายจากรูป 2.13 กลไกการรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกายในหนังสือเรียน หรือ

แหล่งการเรียนรู้อื่น แล้วตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจในหนังสือเรียน

ตรวจสอบความเข้าใจ

เหงื่อช่วยในการระบายความร้อนได้อย่างไร

การที่ผิวหนังขับเหงื่อออกมาและเกิดการระเหยจะระบายความร้อนที่บริเวณ

ผิวหนังออกไปด้วย ยิ่งร่างกายขับเหงื่อออกมามากเท่าใดก็ยิ่งช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย

ลงได้มากด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณความชื้นในอากาศ เช่น ฤดูฝนที่อากาศมีความชื้นสูง

เหงื่อจะระเหยออกไปได้น้อย หรือในฤดูร้อนที่มีความชื้นต่ำ� เหงื่อจะระเหยได้ดีจึงระบาย

ความร้อนออกได้มากด้วย

การขับเหงื่อออกมาปริมาณมากมีผลต่อร่างกายอย่างไร

ถ้าร่างกายขับเหงื่อออกมาปริมาณมากจะทำ�ให้เกิดการสูญเสียความร้อน น้ำ�และแร่ธาตุ

บางชนิดออกมาพร้อมกับเหงื่อมากเกินไป ตัวอย่างแร่ธาต เช่น โซเดียม โพแทสเซียม

ร่างกายไม่สามารถรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิและสารดังกล่าวได้ อาจทำ�ให้เกิด

อันตรายแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการทดแทนเข้าไป

การที่ร่างกายสั่นช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้อย่างไร

การสั่นเป็นการทำ�งานของกล้ามเนื้อโครงร่าง ทำ�ให้เกิดความร้อนขึ้น อาการสั่นนี้จะ

พบได้บ่อยเมื่ออยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ�มาก ๆ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

44

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ