Table of Contents Table of Contents
Previous Page  54 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 54 / 194 Next Page
Page Background

2. โรคนิ่วในไต (kidney stone)

นิ่วเกิดจากตะกอนของสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสเฟต ในปัสสาวะตะกอนเหล่านี้ไม่

ละลายน้ำ�และรวมตัวกันเป็นก้อนแข็งมีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ทำ�ให้อุดตันที่บริเวณต่างๆ

ของไต สาเหตุของการเกิดก้อนนิ่วมีหลายสาเหตุ เช่น ร่างกายกรองหรือกำ�จัดแร่ธาตุออกมา

มากเกิน หรือเกิดจากการอักเสบติดเชื้อทำ�ให้มีการจับกันของผลึกเป็นก้อนนิ่วได้เร็ว การรับ

ประทานอาหารที่มีสารซึ่งเป็นส่วนประกอบของนิ่ว เช่น สารออกซาเลต ซึ่งพบมากใน ผัก

โขม หน่อไม้ ชะพลู ผักแพว การรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนนิ่วว่าจะเลือกใช้วิธีใดจึงจะ

เหมาะสม เช่น การใช้ยาละลายก้อนนิ่ว การสลายก้อนนิ่วโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง การ

ผ่าตัด

ตัวอย่างโรคที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

1. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำ�ไส้ใหญ่ เช่น

Escherichia coli (E. coli)

โรคนี้พบมากในเพศหญิงเนื่องจากมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าเพศชาย

และมีรูเปิดใกล้กับทวารหนัก เชื้อโรคจึงเข้าสู่ท่อปัสสาวะและผ่านขึ้นไปที่กระเพาะปัสสาวะ

ได้ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเชื้อโรคจะผ่านไปที่ท่อไตทำ�ให้ไต

อักเสบ (nephritis) หรือ กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis)

2. ท่อปัสสาวะอักเสบ (urethritis)

ท่อปัสสาวะอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งพบมากจากการติดเชื้อแบคทีเรียจาก

การมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะแบคทีเรีย

Neisseria gonorrhoeae, Chlamydia trachomatis

ขณะที่บางส่วนไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น

Escherichia coli

ที่อาจ

ติดมาทางลำ�ไส้ใหญ่ (อุจจาระ) และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ การบาดเจ็บของท่อปัสสาวะจากการ

สวนถ่ายท่อปัสสาวะในคนที่เป็นอัมพาต การส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ หรือการระคายเคือง

เยื่อบุท่อทางเดินปัสสาวะจากการใช้น้ำ�ยาทำ�ความสะอาดบ่อย ๆ เป็นต้น อาการโดยทั่วไปที่

พบ คือ ปวด แสบ ขัด ปัสสาวะอาจขุ่น หรือมีเลือดปนออกมา ปัสสาวะบ่อย อาจมีไข้ เป็นต้น

การรักษาโดยทั่วไปหากติดเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ หากเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

ที่ไม่ใช่จากการติดเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดบรรเทา

อาการปวด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

40

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ