Table of Contents Table of Contents
Previous Page  31 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 31 / 254 Next Page
Page Background

อวัยวะต่าง ๆ ในระบบย่อยอาหาร

หน้าที่ของโครงสร้างในทางเดินอาหารส่วนต่าง ๆ

ครูอาจใช้คำ�ถามเพิ่มเติมดังนี้

เมื่อรับประทานอาหาร อาหารจะมีการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรบ้างเมื่อเข้าสู่ทางเดินอาหารแต่ละส่วน ตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก

โดยคำ�ตอบของนักเรียน

จะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน

จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.11 เพื่อสรุปให้ได้ว่าทางเดินอาหารของมนุษย์ประกอบด้วย

ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ�ไส้เล็ก ลำ�ไส้ใหญ่ และทวารหนัก รวมทั้งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับ

การย่อยอาหาร คือ ต่อมน้ำ�ลาย ตับ และตับอ่อน และหน้าที่ของอวัยวะนั้น

ครูให้นักเรียนศึกษารูป 13.12 เพื่อให้สรุปได้ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารเพื่อให้ได้

สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจนเซลล์สามารถดูดซึมและนำ�ไปใช้ได้ประกอบด้วยการกิน การย่อย

การดูดซึม และการถ่ายอุจจาระ ซึ่งจะเกิดขึ้นในทางเดินอาหารส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน จากนั้นให้

นักเรียนศึกษารูป 13.13 ซึ่งอธิบายการย่อยทางเคมีในทางเดินอาหารที่ต้องอาศัยเอนไซม์และเป็น

ปฏิกิริยาเคมีที่ต้องใช้น้ำ� เรียกว่า ไฮโดรลิซิส เอนไซม์เหล่านี้มีความจำ�เพาะและทำ�งานได้ดีที่ pH

แตกต่างกัน และสร้างจากแหล่งต่าง ๆ พร้อมทั้งให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนว

คำ�ตอบดังนี้

การย่อยทางเคมีเกิดขึ้นครั้งแรกที่บริเวณใดในทางเดินอาหาร

บริเวณช่องปาก

ถ้าไม่มีเอนไซม์ ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร

เกิดขึ้นได้ แต่ปฏิกิริยาจะเกิดช้ามาก

การย่อยอาหารในปาก

ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบคำ�ถามดังนี้

การเคี้ยวอาหารมีความสำ�คัญต่อการย่อยอาหารอย่างไร

การเคี้ยวอาหารเป็นการย่อยเชิงกลทำ�ให้อาหารมีขนาดเล็กลง พื้นที่ผิวของอาหารที่จะสัมผัส

กับเอนไซม์จึงมีมากขึ้น ทำ�ให้การย่อยทางเคมีเกิดได้ดีขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 13 | ระบบย่อยอาหาร

ชีววิทยา เล่ม 4

19