Table of Contents Table of Contents
Previous Page  218 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 218 / 254 Next Page
Page Background

จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของน้ำ�โดยไตว่าควบคุมโดย

สมองส่วนไฮโพทาลามัสที่รับการเปลี่ยนแรงดันออสโมติกในเลือด และต่อมใต้สมองส่วนหลังในการ

หลั่ง ADH เพื่อลดหรือเพิ่มการดูดกลับน้ำ�ที่ท่อหน่วยไตและท่อรวม

17.4.2 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในเลือด

ครูทบทวนกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายว่านอกจากจะได้ของเสียที่มีไนโตรเจนเป็น

องค์ประกอบแล้วยังเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อแก๊สนี้ละลายในเลือดจะทำ�ให้ได้ไฮโดรเจนไอออน

และไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออนดังสมการ ซึ่งไฮโดรเจนไอออนที่เกิดขึ้นนี้ทำ�ให้ค่าความเป็นกรด-เบส

ของเลือดเปลี่ยนแปลง

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

จากกราฟที่ได้นักเรียนจะอธิบายเชื่อมโยงเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของของเหลวใน

ร่างกายอย่างไร โดยให้กล่าวถึงบทบาทของหน่วยไต ADH และไฮโพทาลามัส

จากการดื่มน้ำ�ทำ�ให้ร่างกายมีปริมาณน้ำ�ในเลือดเพิ่มขึ้น ความเข้มข้นของเลือดจะลดลง

ส่งผลให้แรงดันออสโมติกลดลง ทำ�ให้ลดการกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัสซึ่งควบคุม

สมดุลของเหลวในร่างกายส่งผลให้ต่อมใต้สมองส่วนหลังหลั่ง ADH น้อยลง เซลล์ที่ท่อขด

ส่วนปลายของหน่วยไตและท่อรวมจึงลดการดูดกลับน้ำ�เข้าสู่หลอดเลือด ร่างกายจะขับถ่าย

ปัสสาวะปริมาณมากและเจือจางในนาทีที่ 60 และ 90 และเมื่อเวลาผ่านไปปริมาณปัสสาวะ

จะลดลงจนมีปริมาณค่อนข้างคงที่ เนื่องจากร่างกายรักษาดุลยภาพของของเหลวในร่างกาย

ได้เป็นปกติ

เพราะเหตุใดจึงไม่ควรดื่มน้ำ�ทะเล

เพราะน้ำ�ทะเลมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง เมื่อดื่มน้ำ�ทะเลเข้าไปจะทำ�ให้แรงดัน

ออสโมติกของเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นสมองส่วนไฮโพทาลามัสทำ�ให้เกิดการกระหาย

น้ำ�มากกว่าปกติ และทำ�ให้หน่วยไตต้องทำ�งานหนักขึ้นเพื่อกำ�จัดเกลือที่มากเกินไปออกจาก

เลือด

ชวนคิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย

ชีววิทยา เล่ม 4

206