Table of Contents Table of Contents
Previous Page  200 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 200 / 302 Next Page
Page Background

จากนั้นครูให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับจำ�นวนโมเลกุลของสารต่าง ๆ ใน 1 รอบของวัฏจักร

คัลวินที่สมบูรณ์ โดยอาจใช้คำ�ถามดังนี้

ในการตรึง CO

2

1 โมเลกุล จะต้องใช้ RuBP กี่โมเลกุล และได้ G3P กี่โมเลกุล

การเกิดวัฏจักรคัลวินที่สมบูรณ์ 1 รอบ จะต้องใช้ CO

2

และ RuBP กี่โมเลกุล และจะได้ G3P

ที่เป็นสารผลิตภัณฑ์กี่โมเลกุล และสร้าง RuBP กลับเข้าสู่วัฏจักรได้กี่โมเลกุล

ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ในวัฏจักรคัลวิน จากนั้นอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรม

บทบาทสมมติเป็นสารต่าง ๆ ในวัฏจักรคัลวินโดยทำ�ฉลากเพื่อให้นักเรียนแต่ละคนสุ่มเลือกบทบาท

สมมติต่าง ๆ โดยอาจมีจำ�นวน ดังนี้

- RuBP

จำ�นวน 3 คน

- CO

2

จำ�นวน 3 คน

- PGA จำ�นวน 6 คน

- G3P จำ�นวน 6 คน

- ATP จำ�นวน 9 คน

- NADPH จำ�นวน 6 คน

- ลูกศร จำ�นวน 8 คน (อาจใช้ป้ายกระดาษแทน หากนักเรียนไม่พอ)

เมื่อนักเรียนแต่ละคนได้บทบาทสมมติของตนเองแล้ว ให้เขียนป้ายประจำ�ตัว จากนั้นครูเป็น

ผู้กำ�หนดสถานการณ์ต่าง ๆ ให้นักเรียนทำ�กิจกรรม ตัวอย่างเช่น

- ใครที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนคาร์บอกซิเลชันบ้าง (อาจให้นักเรียนยกมือ ชูป้าย หรือยืนขึ้น)

- ใครที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนรีดักชันบ้าง

- ใครที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนรีเจเนอเรชันบ้าง

- ให้นักเรียนสร้างวัฏจักรคัลวินอย่างสมบูรณ์ตามบทบาทสมมติที่ตนได้รับ

- ต้องการให้ได้น้ำ�ตาลที่เป็นผลิตภัณฑ์ 2 โมเลกุลและเกิดวัฏจักรคัลวินที่สมบูรณ์ (สถานการณ์

นี้ใช้นักเรียนจำ�นวนมาก ซึ่งอาจทำ�ได้โดยให้นำ�ป้ายไปติดบนกระดาน)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

188