Table of Contents Table of Contents
Previous Page  199 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 199 / 302 Next Page
Page Background

จากแผนภาพข้างต้น ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามเกี่ยวกับการทดลองของ

คัลวินและคณะ ดังนี้

จากแผนภาพคัลวินและคณะใช้วิธีใดในการศึกษาเกี่ยวกับสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการตรึง

คาร์บอน

จากการทดลองของคัลวินและคณะ สารที่เสถียรชนิดแรกคือสารใด

เมื่อพบว่าสารที่เสถียรชนิดแรกคือ PGA ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอม คัลวินและคณะ

ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับสารตั้งต้นที่สร้าง PGA อย่างไร และเมื่อทำ�การทดลองแล้วสมมติฐาน

ดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร

จากการอภิปรายควรจะสรุปได้ว่าปฏิกิริยาในการตรึงคาร์บอนมีหลายขั้นตอนซึ่งเกิดต่อเนื่อง

เป็นวัฏจักร ในปัจจุบันเรียกวัฏจักรนี้ว่าวัฏจักรคัลวิน ครูอาจใช้รูป 11.17 และ 11.18 ในหนังสือเรียน

เพื่ออธิบายและสรุปเกี่ยวกับขั้นตอนในวัฏจักรคัลวินโดยให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับขั้นตอนของ

วัฏจักรคัลวินในประเด็นดังต่อไปนี้

การตรึงคาร์บอนเกิดขึ้นที่บริเวณใดของคลอโรพลาสต์

วัฏจักรคัลวินมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง และในแต่ละขั้นตอนจะได้สารใดเป็นสารผลิตภัณฑ์ที่จะ

ถูกส่งต่อไปยังขั้นตอนต่อไป

มีการใช้ ATP และ NADPH ในขั้นตอนใดบ้าง

จากการอภิปรายควรสรุปเกี่ยวกับขั้นตอนในวัฏจักรคัลวินได้ว่าเกิดขึ้นที่สโตรมาของ

คลอโรพลาสต์ และประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ คาร์บอกซิเลชัน รีดักชัน และรีเจเนอเรชัน

1.

คาร์บอกซิเลชัน

เป็นขั้นตอนที่ RuBP ทำ�ปฏิกิริยากับ CO

2

ได้เป็น PGA ซึ่งเป็นสารที่มี

คาร์บอน 3 อะตอมเป็นองค์ประกอบ และเป็นสารเสถียรชนิดแรกของวัฏจักรคัลวิน

2.

รีดักชัน

เป็นขั้นตอนที่ PGA รับพลังงานจาก ATP และ NADPH จากปฏิกิริยาแสง เปลี่ยน

เป็น G3P หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า phosphoglyceraldehyde (PGAL) ซึ่งเป็นน้ำ�ตาล

ชนิดแรกที่มีคาร์บอน 3 อะตอม

3.

รีเจเนอเรชัน

เป็นกระบวนการสร้าง RuBP ขึ้นมาใหม่ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมีการใช้พลังงาน

จาก ATP โดย RuBP ที่สร้างขึ้นใหม่นี้จะถูกใช้ในขั้นตอนคาร์บอกซิเลชันเพื่อทำ�ปฏิกิริยา

กับ CO

2

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

187