logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป

ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพุธ, 11 เมษายน 2561
Hits
734

            เชื่อว่าหลายคนคงเคยใช้กล้องถ่ายรูปกันอย่างแน่นอน ซึ่งคงเป็นเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่กล้องชนิดฟิล์มในอดีต จนมาถึงกล้องดิจิทัลในยุคปัจจุบัน ซึ่งแท้จริงแล้วหลักการทำงานที่สำคัญของกล้องถ่ายรูปเหล่านี้ ล้วนมาจากหลักการสำคัญทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ มาดูกันว่าเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง

7831 1

ภาพที่ 1 กล้องถ่ายรูป
ที่มา https://pixabay.com/th/congerdesign

          กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง ลักษณะที่จำลองการทำงานออกมาจากดวงตาของมนุษย์ รูปถ่ายที่เราเห็นก็เปรียบเสมือนภาพที่นัยย์ตาของเราบันทึกไว้ในความทรงจำ การจำลองภาพออกมาเป็นวัตถุที่มองเห็นและจับต้องได้ ก็อาศัยหลักการเดียวกันกับนัยน์ตาที่รับภาพจากแสงที่สะท้อนมายังดวงตา แต่กล้องถ่ายรูปมีเลนส์รับแสงทำงานแทนเลนส์ตาของมนุษย์ มีฟิล์มซึ่งเป็นวัสดุไวแสงทำงานคล้ายเรตินา   ภาพของวัตถุที่ตกอยูบนฟิล์มจะมีลักษณะภาพชัดที่เรตินา โดยมีไดอะเฟรมที่ทำงานงานคล้ายม่านตาควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้ากล้อง ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์ม การบันทึกภาพโดยการกดชัตเตอร์ลงไปบนกล้องถ่ายรูป ไดอะเฟรมจะเปิดให้แสงเข้ามาตัวเลนส์ จากนั้นก็จะบันทึกภาพลงในฉากรับภาพที่เราเรียกว่าฟิล์ม นี่อาจเป็นหลักการเบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้ ซึ่งหมายความว่า ถ้าพูดถึงความสอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้วนั้น คงหนีไม่พ้นศาสตร์ที่เราเรียกในวิชาฟิสิกส์อย่างแน่นอน

7831 2

ภาพที่ 2 การเกิดภาพจากหลังเลนส์ภายในกล้อง
ที่มา http://www.rmutphysics.com/

          ในหลักการทางฟิสิกส์พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องแสง เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเลนส์มีอยู่ 2 ชนิดคือ เลนส์เว้ากับเลนส์นูน ย้อนความทรงจำกันง่าย ๆ ว่า เลนส์เว้ากระจายแสง เลนส์นูนรวมแสง โดยปกติเราใช้เลนส์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักของกล้องถ่ายรูปจะใช้เลนส์นูน เพราะทำหน้าที่รวมแสงให้เข้ามารวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดโฟกัส เลนส์ทำด้วยแก้ว เมื่อแสงเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านเลนส์ การเดินทางของแสงจะช้าลงเพราะแก้วมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้เกิดการหักเหและตกกระทบเข้าด้านในลำกล้อง ตำแหน่งที่แสงหักเหไปพบกันด้านหลังเลนส์เป็นตำแหน่งที่เราเรียกว่า จุดโฟกัส โดยเมื่อรับแสงจากวัตถุที่อยู่ไกลเกินระยะ 2f จะทำให้เกิดภาพจริงหัวกลับขนาดย่อบนฉากรับภาพหรือบนฟิล์มนั่นเอง

เพื่อให้เห็นข้อมูลเปรียบเทียบที่ชัดเจนมากขึ้น อธิบายได้ตามข้อมูลดังนี้

    7831 3

    ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่เก็บมาฝากให้ทุกคนได้อ่านกัน ทั้งนี้ สำหรับบทความนี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้นที่นำเสนอหลักการทำงานของกล้องถ่ายรูปชนิดฟิล์มเพียงเท่านั้น

แหล่งที่มา

ส่วนประกอบของกล้อง.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก 
         http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/camera/index2.htm

ชมรมคนรักฟิสิกส์. (2554, 3  กุมภาพันธ์).   ทัศนอุปกรณ์.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
         http://khankluay53.blogspot.com/2011/02/blog-post_03.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฟิสิกส์กับกล้องถ่ายรูป
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 21 กุมภาพันธ์ 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า
ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า
Hits ฮิต (6382)
ให้คะแนน
ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า คำตอบ B นั่งยองๆ เท้าชิด มือปิดหู ปลอดภัยกว่า นอนราบ เหตุผล : เดิมทีนั้...
การสร้างเเท่นหมุนสำหรับทดลองในวิชาเเสงตอนการวัดมุมต่างๆการสะ...
การสร้างเเท่นหมุนสำหรับทดลองในวิชาเเสงตอ...
Hits ฮิต (9175)
ให้คะแนน
*หากไม่สามารถดูเอกสารได้บนเว็บ กรุณาติดตั้งโปรแกรม Adobe Reader หรือคลิกที่ Download Acrobat Reader...
ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป ตอนที่ 20..ความเท่ากันของมวลเฉื่อยและม...
ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไป ตอนที่ 20..ความเท่...
Hits ฮิต (33689)
ให้คะแนน
เรานึกภาพสวนขนาดใหญ่ของอวกาศที่ว่างเปล่า ที่ห่างไกลจากดวงดาวและมวลที่มากทีเดียวอื่น ๆ ดังนั้นเป็นไปไ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.