Table of Contents Table of Contents
Previous Page  43 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 43 / 284 Next Page
Page Background

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นหรือขาดหายของนิวคลีโอไทด์ แล้วตอบคำ�ถาม

ในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

มิวเทชันแบบการแทนที่คู่เบสและเฟรมชิฟท์มิวเทชัน ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง DNA และมี

ผลต่อการแสดงลักษณะของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันอย่างไร

การแทนที่คู่เบส

เฟรมชิฟท์มิวเทชัน

1. มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่คู่เบสในสาย

พอลินิวคลีโอไทด์ของ DNA เช่น A-T

ถูกแทนที่ด้วย G-C

2. มีผลทำ�ให้เปลี่ยนแปลงเฉพาะบริเวณรหัส

พันธุกรรม แต่ไม่ทำ�ให้รหัสพันธุกรรมอื่นๆ

เปลี่ยนแปลง

3. อาจมีผลหรือไม่มีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิต

คือถ้าเกิดการแทนที่คู่เบสแล้วได้รหัส

พันธุกรรมที่กำ�หนดชนิดของกรดแอมิโน

เหมือนเดิม จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

ชนิดกรดแอมิโน จึงไม่มีผลต่อลักษณะ

พันธุกรรม แต่ถ้าได้รหัสที่ทำ�ให้ชนิดของกรด

แอมิโนเปลี่ยนไป โปรตีนอาจจะเปลี่ยนไป

ด้วย ซึ่งจะทำ�ให้มีผลต่อการแสดงลักษณะ

ของสิ่งมีชีวิต เช่น โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์

1. มีการเพิ่มหรือขาดหายของนิวคลีโอไทด์ที่หาร

ด้วยสามไม่ลงตัว ในสายพอลินิวคลีโอไทด์

ของ DNA

2. มีผลทำ�ให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปจาก

เดิม ลำ�ดับและชนิดของกรดแอมิโนในลำ�ดับ

ถัดไปจะเปลี่ยนไปด้วย

3. มักจะมีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิต สมบัติ

ของพอลินิวคลีโอไทด์หรือโปรตีนที่ได้จาก

การสังเคราะห์โปรตีนจะแตกต่างไปจากปกติ

เนื่องจากเกิดรหัสหยุดก่อนรหัสหยุดเดิมและ

ทำ�ให้พอลิเพปไทด์มีขนาดสั้นลง

ครูอาจเน้นให้นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง DNA โปรตีน และลักษณะทางพันธุกรรม

ได้ว่า เมื่อลำ�ดับเบสของ DNA เปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อการสังเคราะห์โปรตีน ทำ�ให้ลักษณะทาง

พันธุกรรมเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า DNA ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม

ชีววิทยา เล่ม 2

31