Table of Contents Table of Contents
Previous Page  71 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 71 / 284 Next Page
Page Background

ของนักเรียน และมีความต้องการจะแก้ปัญหานั้นๆ โดยใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

ซึ่งการแก้ปัญหานั้นๆ อาจนำ�ไปสู่การพัฒนานวัตกรรม

ในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พลังงาน การคมนาคม การจัดการสิ่งแวดล้อม

เป็นต้น

ครูใช้คำ�ถามนำ�เพื่อเชื่อมโยงความรู้สะเต็มศึกษากับการศึกษาชีววิทยาว่ามีความสัมพันธ์กัน

อย่างไร โดยยกตัวอย่างกระติบข้าว ซึ่งเป็นการออกแบบภาชนะใส่ข้าวเหนียว ที่ทำ�ให้สามารถเก็บความ

ร้อนของข้าวไว้ได้นานที่สุด แล้วให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

การศึกษาตามแนวทางสะเต็มศึกษากับการศึกษาชีววิทยา มีจุดเริ่มต้นที่เหมือนหรือแตกต่างกัน

อย่างไร

การศึกษาตามแนวทางสะเต็มศึกษากับการศึกษาชีววิทยา มีจุดเริ่มต้นที่เหมือนกันคือ การสังเกต

การเป็นคนช่างสงสัย การมองเห็นปัญหาแล้วเกิดเป็นคำ�ถาม และนำ�ไปสู่การศึกษาเพื่อแก้

ปัญหานั้น

1.3.2 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

ครูเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการศึกษาชีววิทยาที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา กับ

สะเต็มศึกษาที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมในการศึกษา โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ

1

2

3 4

5

6

ระบุปัญหา

รวบรวมข้อมูล

และแนวคิด

ที่เกี่ยวข้อง

กับปัญหา

นำ�เสนอวิธีการ

ทำ�กิจกรรม

แก้ปัญหา

ผลการแก้ปัญหา

หรือชิ้นงาน

กระบวนการ

ออกแบบ

เชิงวิศวกรรม

ออกแบบวิธีการ

ทำ�กิจกรรม

แก้ปัญหา

วางแผน

และดำ�เนินการ

แก้ปัญหา

ทดสอบ ประเมินผล

และปรับปรุงแก้ไข

วิธีการทำ�กิจกรรม

แก้ปัญหา

หรือชิ้นงาน

ขั้นตอนของกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

59