Table of Contents Table of Contents
Previous Page  153 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 153 / 284 Next Page
Page Background

5.1 สารนี้จัดเป็นสารประกอบคาร์บอนชนิดใด

ลิพิด (ไตรกลีเซอไรด์)

5.2 องค์ประกอบ ก. ข. ค. และ ง. คือโมเลกุลของสารใด

ก. คือ กลีเซอรอล

ข. คือ กรดไขมันอิ่มตัว

ค. คือ กรดไขมันอิ่มตัว

ง. คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว

6. ไดแซ็กคาไรด์ 5 ชนิด คือ A B C D และ E ถูกย่อยให้เป็นมอโนแซ็กคาไรด์ เมื่อนำ�ผลิตภัณฑ์

ที่ได้มาแยกด้วยเทคนิค paper chromatography ได้ผลการทดลอง ดังรูป

ถ้ากำ�หนดให้จุดAคือ ผลจากการย่อยซูโครส จุดใดคือผลจากการย่อยมอลโทส และแล็กโทส

ตามลำ�ดับ

จุด C เป็นมอลโทส และจุด B เป็นแล็กโทส

แนวการคิด

เนื่องจากเทคนิคการแยกน้ำ�ตาลด้วย paper chromatography สามารถใช้ในการแยก

องค์ประกอบของไดแซ็กคาไรด์ได้ โดยไดแซ็กคาไรด์ที่พบในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น

ซูโครส ประกอบด้วย กลูโคสและฟรักโทส

มอลโทส ประกอบด้วย กลูโคส 2 โมเลกุล

แล็กโทส ประกอบด้วย กลูโคสและกาแล็กโทส

ถ้ากำ�หนดให้ที่จุด A คือซูโครส ดังนั้นจุดที่เคลื่อนไปทางด้านบน 2 จุด คือ กลูโคสและ

ฟรักโทส แต่เนื่องจากมอลโทสประกอบขึ้นจากกลูโคส 2 โมเลกุล แสดงว่า เมื่อแยกด้วย

paper chromatography จะเห็นเพียง 1 จุด และจะต้องตรงกับน้ำ�ตาลที่เป็นองค์ประกอบย่อย

A B C D E

แนวสูงสุดที่ตัวทำ�ละลายเคลื่อนที่

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

141