Table of Contents Table of Contents
Previous Page  129 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 129 / 284 Next Page
Page Background

2.4.2 เอนไซม์

ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่นักเรียนรู้จัก และอาจให้ตัวอย่างปฏิกิริยา

เพิ่มเติมเพื่อให้มีทั้งตัวอย่างปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมภายนอก และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นใน

สิ่งมีชีวิต โดยตัวอย่างปฏิกิริยาอาจเป็นดังนี้

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมภายนอก

- การเกิดสนิม

- การผุกร่อน

- การเผาไหม้เชื้อเพลิง

- การระเบิดของดินปืน

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต

- กระบวนการย่อยอาหาร

- กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

- กระบวนการสร้างสารโมเลกุลใหญ่ - การสลายสารที่อาจเป็นอันตรายในร่างกาย

จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าปฏิกิริยาใดบ้างที่เกิดขึ้นได้รวดเร็ว และปฏิกิริยาใดบ้างที่

เกิดขึ้นได้ช้า จากนั้นถามนักเรียนว่า

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตควรเป็นเช่นไร เพราะเหตุใด

ซึ่งคำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย แต่ควรมีแนวคำ�ตอบว่าการเกิดปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิต

ควรเกิดได้อย่างรวดเร็ว มีความจำ�เพาะ (เอนไซม์มีความจำ�เพาะในแต่ละปฏิกิริยา) และควบคุมได้

โดยครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 2.2 เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องเอนไซม์กับการเกิดปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต

จุดประสงค์

1. บอกได้ว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์

2. ทดลองเพื่อระบุได้ว่าเอนไซม์เป็นตัวเร่งการเกิดปฏิกิริยาเคมี

เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ)

60 นาที

กิจกรรม 2.2 เอนไซม์จากสิ่งมีชีวิต

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

117