Table of Contents Table of Contents
Previous Page  208 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 208 / 254 Next Page
Page Background

17.3 การทำ�งานของหน่วยไต

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูล อธิบายและสรุปกลไกการกำ�จัดของเสียออกจากร่างกายโดยหน่วยไต

2. เขียนแผนผังสรุปขั้นตอนการกำ�จัดของเสียออกจากร่างกายโดยหน่วยไต

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างในระบบขับถ่ายของ

ร่างกายมนุษย์ ซึ่งแต่ละอวัยวะทำ�หน้าที่ร่วมกันในการกำ�จัดและลำ�เลียงของเสียออกจากร่างกาย ได้แก่

ไต ทำ�หน้าที่กำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบและควบคุมสมดุลของสารต่าง ๆ ท่อไต

ทำ�หน้าที่ลำ�เลียงปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะซึ่งทำ�หน้าที่เก็บปัสสาวะ และท่อปัสสาวะทำ�หน้าที่

ลำ�เลียงปัสสาวะออกจากร่างกาย ทั้งนี้ไตเป็นอวัยวะที่สำ�คัญโดยภายในเนื้อไตมีโครงสร้างที่เป็น

หน่วยการทำ�งานที่เรียกว่า หน่วยไต ซึ่งมีจำ�นวนมากทำ�หน้าที่ในการกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็น

องค์ประกอบและรักษาดุลยภาพของสารต่าง ๆ ในเลือดให้สมดุลอยู่เสมอ

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ

โดยการทำ�งานของหน่วยไต โดยใช้คำ�ถาม ดังนี้

หน่วยไตสามารถสร้างปัสสาวะได้อย่างไร

คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย ซึ่งครูจะยังไม่สรุป จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล

เกี่ยวกับการทำ�งานของหน่วยไต โดยเน้นให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับกระบวนการทำ�งานของหน่วยไต

ในการกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอธิบายและ

สรุปโดยครูอาจใช้รูป 17.10 จากหนังสือเรียนในการอธิบายและสรุปกลไกการสร้างปัสสาวะซึ่ง

ประกอบด้วยการกรอง การดูดกลับ และการหลั่ง ครูอาจเชื่อมโยงความรู้ระหว่างการดูดกลับ และ

การหลั่ง กับวิธีการลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์จากที่นักเรียนได้ศึกษามา เช่น การดูดกลับน้ำ�

เป็นการลำ�เลียงแบบออสโมซิส การดูดกลับกรดแอมิโน กลูโคส โซเดียมไอออนเป็นการลำ�เลียงแบบ

แอกทีฟทรานสปอร์ต

ครูให้นักเรียนศึกษาตาราง 17.1 ในหนังสือเรียน ซึ่งแสดงปริมาตรของของเหลวและ

ความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ที่พบในพลาสมา ของเหลวที่ผ่านการกรองและปัสสาวะ เพื่อเปรียบเทียบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย

ชีววิทยา เล่ม 4

196