Table of Contents Table of Contents
Previous Page  199 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 199 / 254 Next Page
Page Background

17.1 การขับถ่ายของสัตว์

จุดประสงค์การเรียนรู้

สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเปรียบเทียบโครงสร้างและหน้าที่ในการกำ�จัดของเสียออกจากร่างกาย

ของฟองน้ำ� ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยอาจใช้รูปสัตว์ เช่น ฟองน้ำ� ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ให้

นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม โดยใช้คำ�ถามดังนี้

ฟองน้ำ� ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง มีของเสียเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร

นักเรียนอาจจะตอบได้หรือตอบไม่ได้ ครูจะยังไม่สรุปการอภิปราย

ครูให้นักเรียนสืบค้นความรู้เกี่ยวกับของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สัตว์ต้องกำ�จัดออก

นอกร่างกาย แล้วร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้ โดยอาจใช้รูป 17.2 ในหนังสือเรียนประกอบการอธิบายซึ่ง

ควรสรุปได้ว่าสัตว์ต่าง ๆ มีของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก

ซึ่งของเสียที่เกิดขึ้นนี้มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สัตว์แต่ละชนิดจะมีการกำ�จัดในรูปที่แตกต่างกัน

ไปขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่สัตว์นั้นอาศัยอยู่ สัตว์บางชนิดสามารถกำ�จัดในรูปของ

แอมโมเนียได้โดยตรง เช่น ฟองน้ำ� ไฮดรา พลานาเรีย ขณะที่บางชนิดต้องขับออกในรูปแอมโมเนีย

และยูเรีย เช่น ไส้เดือนดิน บางชนิดขับออกในรูปกรดยูริก เช่น แมลง โดยการขับของเสียในรูปต่าง ๆ

นี้ขึ้นกับปริมาณน้ำ�ที่ใช้และพลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนรูป และครูควรอธิบายเพิ่มเติมว่าในรูป 17.2

นั้นเป็นการกำ�จัดของเสียในรูปที่สัตว์กลุ่มนั้น ๆ ขับถ่ายออกมามากที่สุด แต่ก็อาจขับถ่ายในรูปอื่น

ได้อีก เช่น มนุษย์ สามารถกำ�จัดของเสียในรูปแอมโมเนียหรือกรดยูริกได้แต่ในปริมาณที่น้อย

ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับโครงสร้างและอวัยวะที่ทำ�หน้าที่ในการขับถ่าย และกระบวนการ

ขับถ่าย ของฟองน้ำ� ไฮดรา พลานาเรีย ไส้เดือนดิน แมลง ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบ

และสรุป โดยอาจใช้รูป 17.3-17.5 ประกอบ ซึ่งอาจสรุปได้ดังตัวอย่าง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย

ชีววิทยา เล่ม 4

187