Table of Contents Table of Contents
Previous Page  173 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 173 / 254 Next Page
Page Background

16.2 การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูล อธิบายและเปรียบเทียบการสร้างภูมิคุ้มกันก่อเองและภูมิคุ้มกันรับมา

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ โดยใช้

คำ�ถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ครูอาจถามถึงประสบการณ์การได้รับวัคซีนหรือเซรุ่ม แล้วให้

นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำ�ถามดังนี้

การได้รับวัคซีน เซรุ่ม มีประโยชน์อย่างไร

วัคซีนและเซรุ่มเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า วัคซีนเป็นการให้แอนติเจนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อโรค

เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันสามารถตอบสนองต่อเชื้อโรคซึ่งจะช่วยป้องกันโรคบางชนิดไว้ล่วงหน้า

ทำ�ให้เมื่อได้รับเชื้อโรคหลังจากได้รับวัคซีนแล้วก็จะมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเลย ส่วน

การได้รับเซรุ่ม จะช่วยร่างกายกำ�จัดเชื้อโรคได้ทันที เช่น เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เซรุ่มแก้พิษงู

จากนั้นครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 16.2

จุดประสงค์

เพื่อให้ตระหนักถึงความสำ�คัญในการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค

เวลาที่ใช้

(โดยประมาณ)

30 นาที

แนวการจัดกิจกรรม

ครูให้นักเรียนสำ�รวจสมาชิกในห้องเรียนว่าเคยได้รับวัคซีนชนิดใดมาบ้าง และได้รับเมื่ออายุ

เท่าใด สำ�หรับการสำ�รวจสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนควรให้นักเรียนไปสอบถามมา

ล่วงหน้าแล้วจึงนำ�ข้อมูลการสำ�รวจมาจัดกระทำ�ข้อมูลสำ�หรับนำ�เสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

แผนภูมิวงกลม แผนภูมิแท่ง แล้วให้ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

กิจกรรม 16.2 สำ�รวจการฉีดวัคซีน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน

ชีววิทยา เล่ม 4

161