Table of Contents Table of Contents
Previous Page  108 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 108 / 254 Next Page
Page Background

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียน โดยใช้ภาพนำ�บทในหนังสือเรียน จากนั้นใช้คำ�ถามเพิ่มเติมดังนี้

เพราะเหตุใด เมื่อไปพบแพทย์จึงต้องมีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

ในชีวิตประจำ�วันมีการวัดอัตราการเต้นของหัวใจในกิจกรรมใดอีกบ้าง

คำ�ตอบของนักเรียนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักเรียน แต่นักเรียนควรสรุปได้ว่า การวัดอัตรา

การเต้นของหัวใจช่วยบอกข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำ�งานของหัวใจเป็นปกติหรือไม่ การเต้นของ

หัวใจเกิดจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำ�ให้เลือดไหลเวียนเพื่อลำ�เลียงสารอาหาร

แก๊ส และสารอื่นๆ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากการวัดอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อไปพบ

แพทย์แล้วยังวัดอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อมีการออกกำ�ลังกายด้วย

จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดว่า

การลำ�เลียงสารในสิ่งมีชีวิตมีความสำ�คัญต่อการ

ดำ�รงชีวิตอย่างไร สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างของร่างกายต่างกันจะมีกระบวนการลำ�เลียงสารเหมือน

หรือแตกต่างกันอย่างไร

เพื่อนำ�ไปสู่หัวข้อการลำ�เลียงสารในร่างกายของสัตว์และมนุษย์

15.1 การลำ�เลียงสารในร่างกายของสัตว์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. สืบค้นข้อมูลอธิบาย และเปรียบเทียบระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดและระบบหมุนเวียนเลือด

แบบปิด

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนศึกษารูป 15.1 เพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าการลำ�เลียงสารของสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้าง

ร่างกายไม่ซับซ้อนจะมีการแพร่ระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมโดยตรง ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การ

อภิปรายดังนี้ี้ี้

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม มีวิธีการลำ�เลียงสารอย่างไร

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีการรับสารที่เซลล์ต้องการ และกำ�จัดสารที่เซลล์ไม่ต้องการผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

ซึ่งสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 15 | ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบน้ำ�เหลือง

ชีววิทยา เล่ม 4

96