Table of Contents Table of Contents
Previous Page  190 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 190 / 302 Next Page
Page Background

11.2.2 สารสี

จากการทำ�กิจกรรมเสนอแนะ ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องสารสี ดังนี้

พืชใช้อะไรในการดูดกลืนพลังงานแสง

พืชมีสารสีชนิดใดบ้าง และนักเรียนคิดว่าสารสีแต่ละชนิดสามารถดูดกลืนแสงได้

เหมือนกันหรือไม่

จากกิจกรรมเสนอแนะเรื่องสารสีและการดูดกลืนแสงของสารสี แสงสีใดที่พืชสามารถ

ดูดกลืนได้มาก และแสงสีใดที่พืชดูดกลืนได้น้อย เพราะเหตุใด

ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลในหนังสือเรียนและอภิปรายโดยนักเรียนควรได้ข้อสรุป

ว่าสารสีในพืชมีหลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ และแคโรทีนอยด์ โดยสารสีจะดูดกลืนพลังงานแสงเพื่อ

นำ�มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สารสีแต่ละชนิดจะสามารถดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่น

ที่แตกต่างกันทั้งนี้ครูอาจใช้รูป 11.7 และรูป 11.8 ในหนังสือเรียนเพื่อให้นักเรียนอภิปรายความสัมพันธ์

ของกราฟทั้งสอง โดยควรสรุปได้ว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นได้มากเมื่อพืชได้รับ

แสงสีน้ำ�เงินหรือแสงสีแดงซึ่งจะเห็นว่าสอดคล้องกับการดูดกลืนแสงของคลอโรฟิลล์ที่จะดูดกลืนแสง

ในช่วงแสงสีน้ำ�เงินและแสงสีแดงได้มากเช่นกัน

สำ�หรับคำ�ถามเกี่ยวกับการดูดกลืนแสงของสารสีแต่ละชนิดในรูป 11.7 ในหนังสือเรียนมี

แนวคำ�ตอบดังนี้

จากรูป 11.7 สารสีแต่ละชนิดดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่นประมาณเท่าใด

คลอโรฟิลล์เอดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่นประมาณ 400-450 และ 660-700 นาโนเมตร

คลอโรฟิลล์บีดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่น 400-500 และ 640-670 นาโนเมตร

แคโรทีนดูดกลืนแสงได้ดีที่ความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

178