Table of Contents Table of Contents
Previous Page  187 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 187 / 302 Next Page
Page Background

ข้อแนะนำ�สำ�หรับครู

ก่อนเริ่มทำ�กิจกรรมครูควรตั้งคำ�ถามถามนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทราบก่อนว่าจะต้องสังเกต

สิ่งใดบ้างในการทำ�กิจกรรม โดยคำ�ถามอาจเป็นดังนี้

สารสกัดจากใบพืชน่าจะมีสีอะไร เพราะเหตุใดจึงมีสีนั้น

หากนำ�สารสกัดจากใบพืชไปแยกโดยโครมาโทกราฟีจะพบเฉพาะสีเขียวเท่านั้นหรือไม่

เมื่อแผ่นซีดีสะท้อนแสงจะเห็นแสงสีบนแผ่นซีดีเป็นอย่างไร

หากนำ�บีกเกอร์ที่บรรจุสารสกัดจากใบพืชวางตรงช่องด้านบนของอุปกรณ์ดังข้อ 2.1 แสงสี

ที่จะเห็นบนแผ่นซีดีจะแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่

คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลาย โดยครูให้นักเรียนทำ�การทดลองตามวิธีการใน

กิจกรรมเสนอแนะในหนังสือเรียนเพื่อตรวจสอบคำ�ตอบของนักเรียน ทั้งนี้หากต้องการลดระยะ

เวลาในการทำ�กิจกรรมครูอาจเป็นผู้สกัดสารสีจากใบพืชให้นักเรียนใช้ร่วมกันโดยอาจใช้เครื่องปั่น

แล้วจึงแบ่งของเหลวที่สกัดได้ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�ไปทำ�กิจกรรมต่อไป

ในการทำ�โครมาโทกราฟีโดยใช้ปิโตรเลียมอีเทอร์และอะซีโตนในอัตราส่วน 9 : 1 เป็น

ตัวทำ�ละลายอาจทำ�ได้โดยใช้หลอดหยดดูดปิโตรเลียมอีเทอร์ 27 หยด และอะซีโตน 3 หยด ใส่

ลงในหลอดทดลอง จากนั้นปิดจุดหลอดทดลองให้แน่นและทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงใส่

กระดาษกรองที่มีหยดของสารสกัดจากใบพืชลงไปในหลอดทดลองโดยให้ปลายของกระดาษ

กรองจุ่มในตัวทำ�ละลายเล็กน้อยและปิดจุกหลอดทดลอง

หมายเหตุ

อาจปรับเพิ่มหรือลดจำ�นวนหยดของปิโตรเลียมอีเทอร์และอะซีโตนได้ตาม

ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับขนาดหลอดทดลองที่ใช้ แต่ยังคงใช้ปิโตรเลียมอีเทอร์และอะซีโตนใน

อัตราส่วน 9 : 1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

175