Table of Contents Table of Contents
Previous Page  172 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 172 / 302 Next Page
Page Background

สาระสำ�คัญ

นักวิทยาศาสตร์ในอดีตได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงจนสรุปได้ว่า CO

2

และน้ำ�

เป็นวัตถุดิบที่สำ�คัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยพืชจะใช้แสงในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

ได้ผลิตภัณฑ์คือ O

2

และน้ำ�ตาล บริเวณที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงภายในเซลล์พืชอยู่ที่คลอโรพลาสต์

โดยในคลอโรพลาสต์มีโครงสร้างสำ�คัญคือ ไทลาคอยด์ที่มีสารสีเป็นตัวรับพลังงานแสง และสโตรมาซึ่ง

มีเอนไซม์ต่าง ๆ ที่จำ�เป็นต่อปฏิกิริยาต่าง ๆ ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ปฏิกิริยาแสงและการตรึงคาร์บอน

โดยปฏิกิริยาแสงจะเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของโมเลกุล ATP และ NADPH เพื่อ

นำ�ไปใช้ในการตรึงคาร์บอน ได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ�ตาลที่มีคาร์บอน 3 อะตอม คือ G3P

โฟโตเรสไพเรชันเป็นกระบวนการที่พืชตรึง O

2

โดยเอนไซม์รูบิสโก ซึ่งจะทำ�ให้พืชสร้างน้ำ�ตาล

จากวัฏจักรคัลวินได้ลดลง และมีการใช้ ATP ด้วย โฟโตเรสไพเรชันพบมากในพืช C

3

แต่พืชบางชนิด

เช่น พืช C

4

และพืช CAM มีกลไกในการเพิ่มความเข้มข้นของ CO

2

ทำ�ให้โฟโตเรสไพเรชันเกิดขึ้นได้

น้อยมากหรือไม่เกิดขึ้นเลย โดยพืช C

4

จะตรึงคาร์บอน 2 ครั้งซึ่งการตรึงแต่ละครั้งจะเกิดที่เซลล์

ต่างชนิดกัน ส่วนพืช CAM จะตรึงคาร์บอน 2 ครั้งเช่นกัน โดยทั้ง 2 ครั้งเกิดขึ้นในเซลล์เดียวกัน

แต่เกิดต่างช่วงเวลา

ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งทำ�ให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง

ไม่อยู่ในระดับสูงสุด เรียกปัจจัยนั้นว่าเป็นปัจจัยจำ�กัด หากปัจจัยจำ�กัดนั้นมีปริมาณมากขึ้นจน

เพียงพอจะไม่ใช่ปัจจัยจำ�กัดอีกต่อไป แต่อาจมีปัจจัยอื่นที่กลายเป็นปัจจัยจำ�กัดที่มีผลต่ออัตรา

การสังเคราะห์ด้วยแสง

ความเข้มแสง ความเข้มข้นของ CO

2

อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ� และธาตุอาหาร เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ

อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ซึ่งเมื่อพืชได้รับปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อย่างเหมาะสมจะส่งผลให้มี

การเจริญเติบโตได้ดี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

160