Table of Contents Table of Contents
Previous Page  112 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 112 / 302 Next Page
Page Background

4.1 เนื้อเยื่อหมายเลข 1 2 3 มีการเติบโตปฐมภูมิหรือการเติบโตทุติยภูมิ เพราะเหตุใด

เนื้อเยื่อหมายเลข 1 มีการเติบโตปฐมภูมิ เพราะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เกิด

จากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย ยืนยันได้จากการที่ยังไม่มีเนื้อเยื่อ

เจริญด้านข้างเกิดขึ้น ส่วนเนื้อเยื่อหมายเลข 2 และ หมายเลข 3 มีการเติบโตทุติยภูมิ

เพราะมีเนื้อเยื่อส่วนที่เกิดเพิ่มขึ้นจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง ได้แก่

วาสคิวลาร์แคมเบียม และคอร์กแคมเบียม

4.2 เนื้อเยื่อชั้นใดที่พบในเนื้อเยื่อหมายเลข 1 แต่ไม่พบในเนื้อเยื่อหมายเลข 2 และ 3

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

เอพิเดอร์มิสและคอร์เทกซ์ คือเนื้อเยื่อที่พบในเนื้อเยื่อหมายเลข 1 แต่ไม่พบใน

หมายเลข 2 และ 3 เพราะในการเติบโตทุติยภูมิคอร์กแคมเบียมจะแบ่งเซลล์ให้

คอร์กออกทางด้านนอกดันเอพิเดอร์มิสและคอร์เทกซ์ให้หลุดลอกออกไป

คำ�อธิบาย

สำ�หรับพืชใบเลี้ยงคู่ที่เป็นไม้ต้น เมื่อนำ�มาศึกษาอาจยังพบชั้นคอร์เทกซ์อยู่ในเนื้อเยื่อ

หมายเลข 2 และ 3 แต่จะมีการเปลี่ยนสภาพเซลล์ มีผนังเซลล์หนา เซลล์ตาย มีลักษณะ

คล้ายกับส่วนที่เป็นเพริเดิร์มรวมอยู่ในส่วนของเปลือกไม้

4.3 เนื้อเยื่อชั้นใดที่พบในเนื้อเยื่อหมายเลข 2 แต่ไม่พบในเนื้อเยื่อหมายเลข 3 เพราะเหตุใด

จึงเป็นเช่นนั้น

โฟลเอ็มปฐมภูมิ คือเนื้อเยื่อที่พบในเนื้อเยื่อหมายเลข 2 แต่ไม่พบในหมายเลข 3

เพราะวาสคิวลาร์แคมเบียมแบ่งเซลล์ให้เนื้อเยื่อทุติยภูมิมากขึ้นและเซลล์ของไซเล็ม

ทุติยภูมิมีความแข็งแรงและเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นจนดันเนื้อเยื่อในลำ�ดับถัดไปออกไป

ทางด้านนอกทำ�ให้โฟลเอ็มปฐมภูมิซึ่งไม่แข็งแรงถูกดันออกด้านนอกและอาจถูกเบียด

จนสลายไป

4.4 จากรูปวาดเนื้อเยื่อหมายเลข 3 ลำ�ต้นพืชส่วนนี้มีอายุกี่ปี ทราบได้อย่างไร

ลำ�ต้นพืชส่วนนี้มีอายุ 1 ปี ทราบได้จากจำ�นวนวงปีที่มี 1 วง

คำ�อธิบาย

วงปีในรูปวาดของเนื้อเยื่อหมายเลข 3 คือ 1 วง เนื่องจากภายใน 1 วงปี ประกอบด้วย

ไซเล็มแถบสีจางและไซเล็มแถบสีเข้ม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือเรียนหน้า 75

เกี่ยวกับการสร้างเนื้อไม้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 9 | โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

100