คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

219 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เปรียบเทียบสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ 2. สืบค้นข้อมูลและนำ � เสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ ได้อย่างเหมาะสม แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนพิจารณาตาราง 3.16 เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับชนิดของพันธะและสมบัติ ของสาร ซึ่งควรสรุปได้ว่า - พันธะไอออนิกเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างประจุไฟฟ้าของไอออนบวกกับไอออนลบ ซึ่งส่วนใหญ่ไอออนบวกเกิดจากโลหะเสียอิเล็กตรอนและไอออนลบเกิดจากอโลหะรับอิเล็กตรอน เกิดเป็นสารประกอบไอออนิกที่ส่วนใหญ่เป็นผลึกของแข็ง เปราะ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ละลายน้ำ�ได้ ไม่นำ�ไฟฟ้าเมื่อเป็นของแข็ง แต่นำ�ไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำ� - พันธะโคเวเลนต์เกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมธาตุ 2 อะตอม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ธาตุอโลหะโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เกิดเป็นสารโคเวเลนต์ที่ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวและ จุดเดือดต่ำ� ไม่ละลายน้ำ� และไม่นำ�ไฟฟ้า ส่วนสารที่มีพันธะโคเวเลนต์ต่อเนื่องกันไปในสามมิติเป็น สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง - พันธะโลหะเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างโปรตอนในนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอน ที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งชิ้นโลหะ โดยโลหะส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีผิวมันวาว ตีเป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้น ได้ นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง 2. ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อสรุปความคิดรวบยอด เรื่อง พันธะเคมี โดยให้นักเรียน เขียนแผนภาพเวนน์หรือผังมโนทัศน์ ดังตัวอย่างกิจกรรม 5 ซึ่งเป็นกิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครูดังนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4