Table of Contents Table of Contents
Previous Page  5 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 5 / 194 Next Page
Page Background

คำชี้แจง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดทาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้

แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้น

พื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมีจุดเน้นเพื่อต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถที่ทัดเทียมกับ

นานาชาติ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และ

แก้ปัญหาที่หลากหลาย มีการทากิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ และทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งในปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไปโรงเรียนจะต้องใช้หลักสูตรกลุ่ม

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) สสวท. ได้มีการจัดทาหนังสือเรียนที่เป็นไปตาม

มาตรฐานหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนได้ใช้สาหรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และเพื่อให้ครูผู้สอนสามารถสอน

และจัดกิจกรรมต่างๆ ตามหนังสือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทาคู่มือครูสาหรับใช้ประกอบหนังสือเรียน

ดังกล่าว

คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

นี้ ได้บอกแนวการจัดการ

เรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือเรียนเกี่ยวกับ การลาเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ กลไกการรักษาดุลยภาพ

และภูมิคุ้มกันของร่างกาย การดารงชีวิตของพืชและการใช้ประโยชน์จากพืช การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ความสาคัญและผลของเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

การคัดเลือกโดยธรรมชาติซึ่งมีผลต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับ

สิ่งแวดล้อมและปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้สถานการณ์หรือคาถามที่เชื่อมโยงกับชีวิต เน้นการนาความรู้

ไปใช้ในชีวิตประจาวัน ซึ่งครูผู้สอนสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุ

จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ในการจัดทาคู่มือครูเล่มนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ

คณาจารย์ รวมทั้งครูผู้สอน นักวิชาการ จากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

สสวท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่จะช่วยให้การจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ หากมีข้อเสนอแนะใดที่จะทาให้คู่มือครูเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรดแจ้ง สสวท. ทราบด้วย

จะขอบคุณยิ่ง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระทรวงศึกษาธิการ