คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

5.2 เรียงลำ�ดับความสามารถในการเป็นตัวออกซิไดส์ของ H + (aq) Mg 2+ (aq) และ Zn 2+ (aq) และความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ของ H₂(g) Mg(s) และ Zn(s) ลำ�ดับความสามารถในการเป็นตัวออกซิไดส์ เป็นดังนี้ H + (aq) > Zn 2+ (aq) > Mg 2+ (aq) ลำ�ดับความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ เป็นดังนี้ Mg(s) > Zn(s) > H 2 (g) 11.2 การดุลสมการรีดอกซ์ 11.2.1 การดุลสมการรีดอกซ์โดยวิธีเลขออกซิเดชัน 11.2.2 การดุลสมการรีดอกซ์โดยวิธีครึ่งปฏิกิริยา จุดประสงค์การเรียนรู้ ดุลสมการรีดอกซ์โดยวิธีเลขออกซิเดชันและวิธีครึ่งปฏิกิริยา แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับหลักการดุลสมการเคมีทั่วไป ซึ่งเป็นการเติมเลขสัมประสิทธ์ิ หน้าสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เพื่อทำ�ให้ผลรวมของจำ�นวนอะตอมของธาตุแต่ละชนิด และประจุ ไฟฟ้ารวมในด้านซ้ายเท่ากับด้านขวาของสมการ จากนั้นครูเชื่อมโยงเข้าสู่การดุลสมการรีดอกซ์โดยวิธี เลขออกซิเดชันและวิธีครึ่งปฏิกิริยา 2. ครูใช้ตัวอย่าง 3–5 อธิบายการดุลสมการรีดอกซ์โดยวิธีเลขออกซิเดชัน จากตัวอย่างที่ง่าย ไปหายากดังนี้ • ตัวอย่าง 3 เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ที่มีเฉพาะธาตุที่เปลี่ยนเลขออกซิเดชัน • ตัวอย่าง 4 เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ที่ดุลในภาวะกรดและมีทั้งธาตุที่เปลี่ยนและไม่เปลี่ยน เลขออกซิเดชัน • ตัวอย่าง 5 เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ที่ดุลในภาวะเบสและมีทั้งธาตุที่เปลี่ยนและไม่เปลี่ยน เลขออกซิเดชัน 3. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปขั้นตอนการดุลสมการรีดอกซ์โดยวิธีเลขออกซิเดชัน โดยมีข้อสังเกตว่า การดุลสมการจะมีรายละเอียดในบางขั้นตอนเพิ่มขึ้นตามความซับซ้อนของปฏิกิริยา รีดอกซ์ 4. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 11 | เคมีไฟฟ้า เคมี เล่ม 4 141

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4