คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

อภิปรายผลการทดลอง จากการทดลองเมื่อจุ่มแผ่นโลหะลงในสารละลายที่มีไอออนของโลหะ บางคู่สังเกตเห็น การเปลี่ยนแปลง แสดงว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น โดยโลหะและไอออนของโลหะที่เกิดปฏิกิริยา เคมีเป็นดังนี้ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ เขียนสมการแสดงปฏิกิริยารีดอกซ์ และระบุ ตัวรีดิวซ์และตัวออกซิไดส์ของแต่ละปฏิกิริยาได้ดังนี้ - โลหะ Mg ที่จุ่มใน CuSO 4 Mg(s) + Cu 2+ (aq) Mg 2+ (aq) + Cu(s) ตัวรีดิวซ์ คือ Mg(s) ตัวออกซิไดส์ คือ Cu 2+ (aq) - โลหะ Zn ที่จุ่มใน CuSO 4 Zn(s) + Cu 2+ (aq) Zn 2+ (aq) + Cu(s) ตัวรีดิวซ์ คือ Zn(s) ตัวออกซิไดส์ คือ Cu 2+ (aq) - โลหะ Mg ที่จุ่มใน ZnSO 4 Mg(s) + Zn 2+ (aq) Mg 2+ (aq) + Zn(s) ตัวรีดิวซ์ คือ Mg(s) ตัวออกซิไดส์ คือ Zn 2+ (aq) จะเห็นว่า โลหะ Mg เกิดปฏิกิริยาเมื่อจุ่มใน CuSO 4 และ ZnSO 4 แต่โลหะ Zn เกิดปฏิกิริยา เมื่อจุ่มใน CuSO 4 เท่านั้น ดังนั้นโลหะ Mg จึงเป็นตัวรีดิวซ์ได้ดีกว่า Zn ส่วนโลหะ Cu ไม่เกิด ปฏิกิริยาเมื่อจุ่มลงในสารละลายใดเลย จึงเป็นตัวรีดิวซ์ที่ไม่ดีที่สุด ในทางกลับกัน Cu 2+ ในสารละลาย เกิดปฏิกิริยากับโลหะ Mg และ Zn แต่ Zn 2+ ในสารละลาย เกิดปฏิกิริยากับโลหะ Mg เท่านั้น แสดงว่า Cu 2+ เป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีกว่า Zn 2+ ส่วน Mg 2+ ในสารละลาย ไม่เกิดปฏิกิริยากับโลหะใดเลย จึงเป็นตัวออกซิไดส์ที่ไม่ดีที่สุด Mg Zn Cu CuSO 4 - ZnSO 4 - MgSO 4 - โลหะ สารละลาย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 11 | เคมีไฟฟ้า เคมี เล่ม 4 134

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4