คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

สรุปผลการทดลอง ความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ของโลหะและตัวออกซิไดส์ของไอออนของโลหะ พิจารณาได้จากการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ของโลหะและไอออนของโลหะ   เรียงลำ�ดับ ได้ดังนี้ - ความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ : Mg > Zn > Cu - ความสามารถในการเป็นตัวออกซิไดส์ : Cu 2+ > Zn 2+ > Mg 2+ ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู จากการทดลอง เมื่อจุ่มโลหะ Mg ใน CuSO 4 และจุ่มโลหะ Mg ใน ZnSO 4 จะมีฟองแก๊ส เกิดขึ้นด้วย ซึ่งอาจอธิบายได้จากค่าศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์รีดักชันในตาราง 11.3 ซึ่งโลหะ Mg สามารถให้อิเล็กตรอนกับ H 2 O เกิดแก๊ส H 2 ได้ แต่โดยปกติปฏิกิริยานี้จะเกิด ขึ้นได้ช้าที่อุณหภูมิห้อง แต่เมื่อแผ่นโลหะ Mg เริ่มทำ�ปฏิกิริยากับ Cu 2+ หรือ Zn 2+ ซึ่งทำ�ให้ พื้นผิวของ Mg เพิ่มขึ้นและมีความร้อนเกิดขึ้น ปฏิกิริยาการเกิดแก๊ส H 2 จึงเกิดได้มากขึ้นจน สังเกตเห็นฟองแก๊สจำ�นวนมาก อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้เป็นการพิจารณาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะกับไอออน ของโลหะ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์ของโลหะ และตัวออกซิไดส์ของ ไอออนของโลหะ 15. ครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า ความสามารถในการเป็นตัวรีดิวซ์และตัวออกซิไดส์ที่ สรุปได้จากกิจกรรม 11.2 สอดคล้องกับตาราง 11.2 หรือไม่ จากนั้นให้นักเรียนพิจารณาความสามารถ ในการเป็นตัวรีดิวซ์และตัวออกซิไดส์ของโลหะและไอออนของโลหะอื่น ๆ ในตาราง 11.2 เพื่อให้ได้ ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวโน้มว่า ธาตุโลหะหมู่หลักเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีกว่าธาตุโลหะแทรนซิชัน ในขณะที่ ไอออนของธาตุโลหะแทรนซิชันเป็นตัวออกซิไดส์ที่ดีกว่าไอออนของธาตุโลหะหมู่หลัก 16. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ และตอบคำ�ถามชวนคิด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 11 | เคมีไฟฟ้า เคมี เล่ม 4 135

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4