การคูณ ระดับชั้น ป.3
การคูณ ความหมายของการคูณ
จำนวนแอปเปิ้ล มีจำนวน 1 ผล ให้มีค่าเท่า “1”
ภาพที่ 1 บทเรียนการคูณ ความหมายของการคูณ
ที่มา ปิยวดี เอ่งฉ้วน
ภาพที่ 2 แสดงจำนวนแอปเปิ้ล 1 กอง = 12 ผล
ที่มา ปิยวดี เอ่งฉ้วน
ดัดแปลงจาก https://www.freepik.com/
เมื่อต้องการนับจำนวนแอปเปิ้ล 1 กอง ว่ามีจำนวนเท่าไร โดยทำการนับไปเรื่อย ๆ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ช้า และมีความผิดพลาดสูง แต่เมื่อนำแอปเปิ้ลมาแบ่งเป็นกองเล็ก ๆ กองละเท่า ๆ กัน จำทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำสูง และรวดเร็ว
- เมื่อนำแอปเปิ้ล 12 ผล มาแบ่งเป็นกอง กองละเท่า ๆ กัน ได้ 2 กอง โดยแบ่งกองละ 6 ผล
ภาพที่ 3 แสดงการแบ่งแอปเปิ้ล เป็น 2 กอง
ที่มา ปิยวดี เอ่งฉ้วน
จากภาพที่ 3 นำมาเขียนในรูปของการบวกและการคูณ
- เมื่อนำแอปเปิ้ล 12 ผล มาแบ่งเป็นกอง กองละเท่า ๆ กัน ได้ 3 กอง โดยแบ่งกองละ 4 ผล
จะได้เท่ากับ กอง A + กอง B + กอง C
ภาพที่ 4 แสดงการแบ่งแอปเปิ้ล เป็น 3 กอง
ที่มา ปิยวดี เอ่งฉ้วน
เขียนในรูปการบวก คือ 4 + 4 + 4 (จากภาพที่ 4)
- เมื่อนำแอปเปิ้ล 12 ผล มาแบ่งเป็นกอง กองละเท่า ๆ กัน ได้ 4 กอง โดยแบ่งกองละ 3 ผล
จะได้เท่ากับ กอง A + กอง B + กอง C + กอง D
ภาพที่ 5 แสดงการแบ่งแอปเปิ้ล เป็น 4 กอง
ที่มา ปิยวดี เอ่งฉ้วน
เขียนในรูปการบวก คือ 3 + 3 + 3 + 3 (จากภาพที่ 5)
จำนวนแอปเปิ้ล 12 ผล เมื่อทำการแบ่งเป็นกอง กองละเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะแบ่ง ออกเป็น 2 กอง 3 กอง หรือ 4 กอง ผลลัพธ์ คือ 12 ผล จึงให้ความหมายของการคูณ ดังนี้
การคูณ หมายถึง การบวกจำนวนที่เท่ากัน หลาย ๆ จำนวน สามารถแสดงได้ด้วยการคูณจำนวนสองจำนวน คือ จำนวนกลุ่ม กับ จำนวนสิ่งของในกลุ่ม และจำนวนที่ได้จากการคูณสองจำนวนเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ผลคูณ”
- × คือ เครื่องหมายการคูณ ลักษณะคล้ายกากบาท
- จุดกลาง ( · ) หรือ มหัพภาค ( . ) คือ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น 4 · 3 = 12 หรือ 4 . 3 = 12 การใช้จุดกลางเป็นมาตรฐานในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศอื่น ๆ ที่ใช้มหัพภาคเป็น จุดทศนิยม แต่ในบางประเทศที่ใช้จุลภาคเป็นจุดทศนิยม จะใช้มหัพภาคเป็นการคูณแทน
- ดอกจัน ( * ) เช่น 4 * 3 = 12 ส่วนมากจะใช้ในภาษาโปรแกรม เพราะเครื่องหมายนี้ปรากฎอยู่บนทุกแป้นพิมพ์
การคูณ
4 × 3 = 12
4 คือ จำนวนกลุ่ม
3 คือ จำนวนสิ่งของที่อยู่ในกลุ่ม
12 คือ ผลคูณ
- มีไก่อยู่ 6 ตัว เมื่อนำไก่ไปไว้ในคอกที่มีอยู่ 3 คอก สามารถแบ่งไก่ได้ คอกละจำนวน 2 ตัว
ภาพที่ 6 คอกไก่มี 3 คอก แบ่งคอกละ 2 ตัว
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน
ดัดแปลงจาก https://www.freepik.com/
ดังนั้น มีคอกไก่ 3 คอก แบ่งไก่เป็นคอกละ 2 ตัว มีไก่ทั้งหมดกี่ตัว
เขียนในรูปการคูณ ได้ดังนี้ 3 × 2 = 6
6 เป็นผลคูณของ 3 และ 2 อ่านว่า สามคูณสองเท่ากับหก
เรียก 3 ซึ่งเป็นจำนวนคอก ว่า ตัวตั้ง
เรียก 2 ซึ่งเป็นจำนวนของไก่ในแต่ละคอก ว่า ตัวคูณ
เรียก 6 ซึ่งเป็นจำนวนของไก่ทั้งหมด ว่า ผลคูณ
การสลับที่ของการคูณ
ศูนย์กับการคูณ
ภาพที่ 11 แสดงภาพถุง 2 ถุง ที่ไม่มีสิ่งของภายในถุง
ที่มา ปิยวดี เอ่งฉ้วน
ดัดแปลงจาก https://www.freepik.com/
จากภาพที่ 11 มีถุงใส่ของ 2 ใบ ในถุงแต่ละใบไม่มีอะไรในถุงเลย
ไม่มีของในถุงใส่ของทั้งสองใบ (มีค่าเท่ากับศูนย์) ถุง A + ถุง B = 0 + 0 = 0
ศูนย์กับการคูณ
2 × 0 = 0
2 คือ จำนวนถุง
0 คือ ไม่มีจำนวนสิ่งของที่อยู่ในถุง
0 คือ ผลคูณ
ดังนั้น จำนวนใดๆ คูณกับศูนย์ หรือศูนย์คูณกับจำนวนใด ๆ ผลคูณจะเป็นศูนย์
เนื่องจาก การคูณจำนวนสองจำนวนสามารถสลับที่กันได้ โดยผลคูณยังคงเท่าเดิม ดังนั้น 2 × 0 = 0 × 2 = 0
กลับไปที่เนื้อหา
การคูณ 1 หลัก กับ 2 หลัก
การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสองหลัก ทำได้โดยการคูณจำนวนในหลักหน่วย แล้วคูณจำนวนในหลักสิบ
- การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับ 10, 20, 30, ..., 90
4 × 10 = ?
4 คือ จำนวนกลุ่มของตัวนับ ในที่นี้มีด้วยกัน 4 กลุ่ม มีกลุ่ม A B C และ D
10 คือ จำนวนตัวนับที่มีอยู่ในกลุ่ม ในที่นี้คือ 10
เขียนในรูปการบวก จะได้ดังนี้ A + B + C + D = 10 + 10 + 10 +10 = 40
เขียนในรูปการคูณ จะได้ดังนี้ 4 × 10 = 40
การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสองหลัก ทำได้โดยการคูณจำนวนในหลักหน่วย แล้วคูณจำนวนในหลักสิบ ในที่นี้ หลักหน่วย คือ “0” หลักสิบ คือ “1”
- 4 × 10 = ?
วิธีทำ
ตอบ 40
- การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับสองหลัก
- แม่ค้าขายขนมสอดไส้ 75 ห่อ ราคาห่อละ 3 บาท แม่ค้าขายได้เงินทั้งหมดกี่บาท
วิธีทำ แม่ค้าขายขนมสอดไส้ 75 ห่อ
ราคาห่อละ 3 บาท
แม่ค้าขายได้เงินทั้งหมดกี่บาท
เขียนในรูปการคูณ ได้ดังนี้ 75 × 3 = ?
75 × 3 = (70 + 5) × 3 ------------ (75 เท่ากับ 70 บวกกับ 5)
= 70 × 3 ------------ ชุดที่ 1
= 5 × 3 ------------ ชุดที่ 2
ชุดที่ 1 70 × 3 = 210
ชุดที่ 2 5 × 3 = 15
ดังนั้น ชุดที่ 1 + ชุดที่ 2 210 + 15 = 225
ตอบ แม่ค้าขายได้เงินทั้งหมด 225 บาท
- ปากการาคาด้ามละ 4 บาท ถ้าซื้อ 2 โหล ต้องจ่ายเงิน……………. บาท
วิธีทำ ปากการาคาด้ามละ 4 บาท
ถ้าซื้อ 2 โหล
ต้องจ่ายเงินกี่บาท
ดังนั้น ปากกา 2 โหล เท่ากับ 24 ด้าม
เขียนในรูปการคูณ ได้ดังนี้ 24 × 4 = ?
24 × 4 = (20 + 4) × 4 ------------ (24 เท่ากับ 20 บวกกับ 4)
= 20 × 4 ------------ ชุดที่ 1
= 4 × 4 ------------ ชุดที่ 2
ชุดที่ 1 20 × 4 = 80
ชุดที่ 2 4 × 4 = 16
ดังนั้น ชุดที่ 1 + ชุดที่ 2 80 + 16 = 96
ตอบ ถ้าซื้อ 2 โหล ต้องจ่ายเงิน 96 บาท
- โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 6 ห้อง ห้องละ 38 คน โรงเรียนนี้มีนักเรียนกี่คน
วิธีทำ โรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 6 ห้อง
ห้องละ 38 คน
โรงเรียนนี้มีนักเรียนกี่คน
เขียนในรูปการคูณ ได้ดังนี้ 6 × 38 = ?
6 × 38 = 6 × (30 + 8) ------------ (38 เท่ากับ 30 บวกกับ 8)
= 6 × 30 ------------ ชุดที่ 1
= 6 × 8 ------------ ชุดที่ 2
ชุดที่ 1 6 × 30 = 180
ชุดที่ 2 6 × 8 = 48
ดังนั้น ชุดที่ 1 + ชุดที่ 2 180 + 48 = 228
ตอบ โรงเรียนนี้มีนักเรียน 228 คน
กลับไปที่เนื้อหา
การคูณ 1 หลัก กับ 3 หลัก
- การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับหนึ่งร้อย
จากข้อ 1 กับ 2 ใช้ตารางช่วยในการคูณ
- การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับสองร้อย สามร้อย สี่ร้อย ถึง เก้าร้อย
ภาพที่ 2 การคูณจำนวนที่มี 1 หลัก กับ 200 ,300 ,400 , … ,900
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน
จากข้อ 3 กับ 4 ใช้ตารางช่วยในการคูณ
- การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสามหลัก ไม่มีตัวทด
ภาพที่ 3 การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสามหลัก ไม่มีตัวทด
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน
จากข้อ 5 กับ 6 ใช้ตารางช่วยในการคูณ
- การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสามหลัก มีตัวทด
ตัวทด หรือ เลขทด คือ ตัวเลขที่ถูกส่งมาจากตัวเลขหลักหนึ่ง ไปยังตัวเลขอีกหนึ่งหลัก ในระหว่างทำการคำนวณ การกระทำที่ให้เกิดตัวทดเรียกว่า การทด
ตัวทดเป็นสิ่งที่ช่วยคำนวณคณิตศาสตร์มาแต่ดั้งเดิม เพื่อเน้นให้เห็นถึงวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง เมื่อคำนวณจนชำนาญแล้วตัวทดก็มักจะถูกละเลยไปเพราะสามารถคิดได้ในใจ และตัวทดก็ไม่ได้ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์
ภาพที่ 4 การคูณจำนวนที่มีหนึ่งหลักกับจำนวนที่มีสามหลัก ไม่มีตัวทด
ที่มา : ปิยวดี เอ่งฉ้วน
จากข้อ 7 กับ 8 ใช้ตารางช่วยในการคูณ
จากข้อ 9 กับ 10 ใช้การคูณโดยใช้สมบัติการแจกแจง เพื่อให้ง่ายในการคูณ (ตัดปัญหาการใช้ตัวทด)
- แม่ค้าขายเงาะได้ 307 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 9 บาท แม่ค้าขายเงาะได้เงิน………..บาท
วิธีทำ แม่ค้าขายเงาะได้ 307 กิโลกรัม
ราคากิโลกรัมละ 9 บาท
แม่ค้าขายเงาะได้เงินกี่บาท
แม่ค้าขายเงาะได้ 307 กิโลกรัม = 300 กิโลกรัม + 7 กิโลกรัม
= 2,700 บาท + 63 บาท
= 2,763
- นมกล่องละ 125 มิลลิลิตร 3 กล่อง เทรวมกันจะได้นมกี่มิลลิลิตร
วิธีทำ นมกล่องละ 125 มิลลิลิตร
นม 3 กล่อง
เทรวมกันจะได้นมกี่มิลลิลิตร
เขียนในรูปการคูณ ได้ดังนี้ 3 × 125 = ?
3 × 125 = 3 × (100 + 20 + 5)
= 3 × 100 ----- A
= 3 × 20 ----- B
= 3 × 5 ----- C
A = 3 × 100 = 300
B = 3 × 20 = 60
C = 3 × 5 = 15
ดังนั้น A + B + C = 300 + 60 + 15
= 375
ตอบ เทรวมกันจะได้นม 375 มิลลิลิตร
แหล่งที่มา
สมจิตร ชื่อปรีชา. 2548. หนังสือแบบเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. 2548. หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ป.4 กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช
นิติกร ระดม. 2551. คู่มือครู อจท. คณิตศาสตร์ ป.3 กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2551. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.3 กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของ สกสค. ลาดพร้าว
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.4 กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของ สกสค. ลาดพร้าว
ทรงวิทย์ สุวรรณธาดา. 2553. Modern คณิตศาสตร์ ป.3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์. 2561. สรุปหลักพร้อมแบบฝึกเสริมทักษะ เก่งคณิตศาสตร์ ป.4 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ โนว์เลดจ์ สเตชั่น
กลับไปที่เนื้อหา
-
8790 การคูณ ระดับชั้น ป.3 /index.php/lesson-mathematics/item/8790-2018-09-21-01-57-44เพิ่มในรายการโปรด