คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา 44 ผลการเรียนรู้ ชั้น สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ๔. สืบค้นข้อมูล ยกตัวอย่าง และอธิบายลักษณะของไบโอมที่กระจายอยู่ตามเขตภูมิศาสตร์ต่างๆ บนโลก ๕. สืบค้นข้อมูล ยกตัวอย่าง อธิบาย และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิและ การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ ๖. สืบค้นข้อมูล อธิบาย ยกตัวอย่างและสรุปเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของประชากรของสิ่งมีชีวิต บางชนิด ๗. สืบค้นข้อมูล อธิบาย เปรียบเทียบ และยกตัวอย่างการเพิ่มของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล และการเพิ่มของประชากรแบบลอจิสติก ๘. อธิบายและยกตัวอย่างปัจจัยที่ควบคุมการเติบโตของประชากร - การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศบางครั้งอาจทำ�ให้มีสารพิษสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตด้วย เรียกว่า การเกิดไบโอแมกนิฟิเคชัน ซึ่งอาจมีระดับความเข้มข้นของสารพิษมากขึ้นตามลำ�ดับขั้นของ การกิน จนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต - สารต่างๆ ในระบบนิเวศมีการหมุนเวียนเกิดขึ้นผ่านทั้งในสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต กลับคืน สู่ระบบอย่างเป็นวัฏจักร เช่น วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักร กำ�มะถัน และวัฏจักรฟอสฟอรัส - ไบโอมคือระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ตามเขตภูมิศาสตร์ต่างๆ บนโลก เช่น ไบโอม ทุนดรา ไบโอมสะวันนา ไบโอมทะเลทราย โดยแต่ละไบโอมจะมีลักษณะเฉพาะของปัจจัย ทางกายภาพ ชนิดของพืชและชนิดของสัตว์ - ระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำ�ให้ระบบนิเวศ สามารถปรับสมดุลได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อ องค์ประกอบทางชีวภาพในระบบนิเวศทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตขึ้น - การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทางนิเวศวิทยามีทั้งการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิและ การเปลี่ยน แปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ - ประชากรของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีลักษณะหลายประการที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น ขนาดของ ประชากร ความหนาแน่นของประชากร การกระจายตัวของสมาชิกในประชากร โครงสร้าง อายุของประชากร อัตราส่วนระหว่างเพศ อัตราการเกิดและอัตราการตาย การอพยพเข้า การอพยพออกของประชากร และการรอดชีวิตของสมาชิกที่มีอายุต่างกัน - ลักษณะเฉพาะของประชากรมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรซึ่งเป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ - การเพิ่มประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียลเป็นการเพิ่มจำ�นวนประชากรอย่างรวดเร็วแบบทวีคูณ - การเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกเป็นการเพิ่มจำ�นวนประชากรที่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหรือ มีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4