คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา 42 ผลการเรียนรู้ ชั้น สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ๑๗. สืบค้นข้อมูล อธิบาย เปรียบเทียบ และยกตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นมาแต่กำ�เนิดและ พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ของสัตว์ ๑๘. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และยกตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับวิวัฒนาการของ ระบบประสาท ๑๙. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และยกตัวอย่างการสื่อสารระหว่างสัตว์ที่ทำ�ให้สัตว์แสดงพฤติกรรม - ต่อมใต้สมองส่วนหลังหลั่งฮอร์โมนซึ่งสร้างจากไฮโพทาลามัส คือ ADH และออกซิโทซิน ซึ่งทำ�หน้าที่แตกต่างกัน - ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอกซินซึ่งควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย และสร้างแคลซิโทนิน ซึ่งควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้ปกติ - ต่อมพาราไทรอยด์สร้างพาราทอร์โมนซึ่งควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดให้ปกติ - ตับอ่อนมีกลุ่มเซลล์ที่สร้างอินซูลินและกลูคากอน ซึ่งควบคุมระดับน้ำ�ตาลในเลือดให้ปกติ - ต่อมหมวกไตส่วนนอกสร้างกลูโคคอร์ติคอยด์มิเนราโลคอร์ติคอยด์ และฮอร์โมนเพศ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน ส่วนต่อมหมวกไตส่วนในสร้างเอพิเนฟรินและนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งมีหน้าที่เหมือนกัน - อัณฑะมีกลุ่มเซลล์สร้างเทสโทสเทอโรน ส่วนรังไข่มีกลุ่มเซลล์ที่สร้างอีสโทรเจนและโพรเจส เทอโรนซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน - เนื้อเยื่อบางบริเวณของอวัยวะ เช่น รก ไทมัส กระเพาะอาหาร และลำ�ไส้เล็ก สามารถสร้าง ฮอร์โมนได้หลายชนิด ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน - การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ มีทั้งการควบคุมแบบป้อนกลับยับยั้งและ การควบคุมแบบป้อนกลับกระตุ้น เพื่อรักษาดุลยภาพของร่างกาย - ฟีโรโมนเป็นสารเคมีที่ผลิตจากต่อมมีท่อของสัตว์ซึ่งส่งผลต่อสัตว์ตัวอื่นที่เป็นชนิดเดียวกัน - พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อการแสดงพฤติกรรม - พฤติกรรมที่เป็นมาแต่กำ�เนิดแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น โอเรียนเตชัน (แทกซิสและ ไคนีซิส) รีเฟล็กซ์ และฟิกแอกชันแพทเทิร์น - พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบ่งได้เป็นแฮบบิชูเอชัน การฝังใจ การเชื่อมโยง (การลองผิด ลองถูกและการมีเงื่อนไข) และการใช้เหตุผล

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4