คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

3. จงหามวลอะตอมสัมพัทธ์ของ 32 S เมื่อ 32 S 1 อะตอมมีมวล 53.05 × 10 -24 กรัม และค่าที่ คำ�นวณได้มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าที่ปรากฏในตารางธาตุ อธิบายได้อย่างไร มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ 32 S = มวลอะตอมของ 32 S (g) 1.66 × 10 -24 g = 53.05 × 10 -24 g 1.66 × 10 -24 g = 31.96 ดังนั้น มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ 32 S เท่ากับ 31.96 ซึ่งมีค่าน้อยกว่ามวลอะตอมใน ตารางธาตุ ที่มีค่าเท่ากับ 32.06 เนื่องจากค่านี้เป็นมวลอะตอมสัมพัทธ์ของไอโซโทป 32 S แต่มวลอะตอมในตารางธาตุเป็นมวลอะตอมเฉลี่ย แสดงว่าในธรรมชาติมีกำ�มะถันไอโซโทป อื่นที่มีมวลอะตอมของไอโซโทปมากกว่า 32.06 4. ธาตุออกซิเจนมีมวลอะตอมสัมพัทธ์ 16.00 ธาตุ A 1 อะตอมมีมวลเป็น 4 เท่าของมวลของ ออกซิเจน 2 อะตอม ธาตุ A จะมีมวลอะตอมสัมพัทธ์เท่าใด หามวลของ O มวลของ O 1 อะตอม = มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ O × 1.66 × 10 -24 g = 16.00 × 1.66 × 10 -24 g หามวลอะตอมของ A หรือ มวลของ A 1 อะตอม มวลของ O 2 อะตอม = 2 × 16.00 × 1.66 × 10 -24 g มวลอะตอมของ A = 4 × 2 × 16.00 × 1.66 × 10 -24 g หามวลอะตอมสัมพัทธ์ของ A มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ A = มวลอะตอมของ A (g) 1.66 × 10 -24 g = 4 × 2 × 16.00 × 1.66 × 10 -24 g 1.66 × 10 -24 g = 128 ดังนั้น มวลอะตอมสัมพัทธ์ของ A เท่ากับ 128 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2 9

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4