คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

4.1 มวลอะตอม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความหมายของมวลอะตอมของธาตุ มวลอะตอมสัมพัทธ์ และมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ 2. คำ�นวณมวลอะตอมของธาตุและมวลอะตอมสัมพัทธ์ 3. คำ�นวณมวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูตั้งคำ�ถามโดยใช้แนวคำ�ถาม ดังนี้ - มวลอะตอมของธาตุ หาได้อย่างไรและมีค่าเท่าใด นักเรียนควรตอบได้ว่า หาได้จากผลรวมของมวลโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่ อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมาก มวลอะตอมจึงมีค่าใกล้เคียงกับผลรวมของมวลโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งมี ค่าน้อยมากในหน่วยกรัมหรือกิโลกรัม - อะตอมของแต่ละธาตุมีมวลเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด นักเรียนควรตอบได้ว่า ไม่เท่ากัน เนื่องจากธาตุแต่ละชนิดมีจำ�นวนโปรตอนและนิวตรอนไม่เท่ากัน จากนั้นครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการหามวลอะตอมซึ่งไม่สามารถหาได้ด้วยวิธีการ ชั่งมวล เพื่อนำ�เข้าสู่วิธีการหามวลอะตอมสัมพัทธ์โดยเปรียบเทียบกับธาตุมาตรฐาน 2. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับมวลอะตอมสัมพัทธ์ซึ่งเป็นค่าที่ไม่มีหน่วยกำ�กับ และวิธีการเปรียบเทียบ มวลอะตอมของธาตุกับธาตุมาตรฐาน โดยปัจจุบันใช้ 12 C ที่เป็นไอโซโทปหลักของคาร์บอนเป็นธาตุ มาตรฐานในการเปรียบเทียบจากนั้นครูอธิบายการคำ�นวณโดยยกตัวอย่างประกอบ 3. ครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับไอโซโทปของธาตุ แล้วให้ความรู้เกี่ยวกับมวลอะตอมและ ปริมาณของไอโซโทปในธรรมชาติ เช่น คาร์บอนมี 3 ไอโซโทป คือ 12 C มีมวลอะตอม 12.0000 ในธรรมชาติมีอยู่ร้อยละ 98.930 13 C มีมวลอะตอม 13.0034 ในธรรมชาติมีอยู่ร้อยละ 1.070 ส่วน 14 C เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีมีปริมาณน้อยมาก แล้วอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการหา มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ ซึ่งหาได้จาก ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตัวเลขมวลอะตอมในตารางธาตุเป็นมวลอะตอม ของธาตุ ตัวเลขมวลอะตอมในตารางธาตุเป็นมวลอะตอม เฉลี่ยของธาตุ แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า มวลอะตอม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2 6

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4