คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

สาระสำ�คัญ ปฏิกิริยาเคมีเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้นโดยชนิดและจำ�นวนอะตอมของธาตุไม่ เปลี่ยนแปลง ปฏิกิริยาเคมีเขียนแสดงได้ด้วยสมการเคมี ซึ่งประกอบด้วยสูตรเคมีของสารตั้งต้นและ ผลิตภัณฑ์ โดยมีลูกศรแสดงทิศทางของการเกิดปฏิกิริยา และเลขสัมประสิทธิ์ที่ได้จากการดุลสมการเคมี ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณต่าง ๆ ของสารที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น และ อาจมีสัญลักษณ์แสดงสถานะของสาร หรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีบอกถึงจำ�นวนโมลของสารในปฏิกิริยาเคมี และสามารถนำ�มาใช้ ในการคำ�นวณปริมาณต่าง ๆ ของสาร เช่น มวล ความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาตรของแก๊ส และ ใช้ในการคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่มีหลายขั้นตอนได้ สำ�หรับปฏิกิริยาเคมีที่สารตั้งต้นทำ�ปฏิกิริยาไม่พอดีกัน ปริมาณผลิตภัณฑ์พิจารณาจาก สารกำ�หนดปริมาณ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ทำ�ปฏิกิริยาหมด ในปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจริง น้อยกว่าผลได้ตามทฤษฎีที่คำ�นวณได้จากสารกำ�หนดปริมาณตามสมการเคมี ผลได้ร้อยละคือการ เปรียบเทียบผลได้จริงกับผลได้ตามทฤษฎีเป็นร้อยละ ซึ่งสามารถบอกถึงประสิทธิภาพของการทำ� ปฏิกิริยา บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 25 ชั่วโมง 6.1 ปฏิกิริยาเคมี 1 ชั่วโมง 6.2 สมการเคมี 4 ชั่วโมง 6.3 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี 13 ชั่วโมง 6.4 สารกำ�หนดปริมาณ 3 ชั่วโมง 6.5 ผลได้ร้อยละ 4 ชั่วโมง สูตรเคมี โมล ปริมาตรของแก๊สที่ STP ความเข้มข้นของสารละลาย แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย เวลาที่ใช้ ความรู้ก่อนเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 114

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4