คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

29 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. ครูให้นักเรียนพิจารณารูปร่างของกระบอกตวงและปิเปตต์ แล้วตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�อภิปราย ว่า เพราะเหตุใดกระบอกตวงมีค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่าปิเปตต์ ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า ปิเปตต์ มีพื้นที่หน้าตัดบริเวณที่ผิวของของเหลวน้อยกว่ากระบอกตวง ทำ�ให้ความผิดพลาดของระดับ ของเหลวที่ถ่ายเทมีค่าน้อยกว่าของกระบอกตวง นอกจากนั้นครูอาจอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้ การอ่านปริมาตรจากอุปกรณ์วัดปริมาตรเป็นการอ่านค่าจากความสูงของของเหลว เมื่อพิจารณา จากสูตรคำ�นวณปริมาตรทรงกระบอก คือ ปริมาตร = พื้นที่หน้าตัด × สูง จะพบว่า หากพื้นที่หน้าตัดมีค่า น้อย ความสูงที่อ่านได้จะมีค่ามาก ทำ�ให้ความผิดพลาดจากการอ่านค่าความสูงน้อยกว่า ซึ่งอธิบายด้วย ตัวเลขประกอบ ดังนี้ ต้องการตวงของเหลวปริมาตร 1 mL ถ้าพื้นที่หน้าตัดของอุปกรณ์วัดปริมาตรเท่ากับ 1 cm 2 ความสูงที่อ่านได้จะเท่ากับ 1 cm ถ้าอ่านค่าความสูงผิดไป 0.1 cm จะอ่านปริมาตรผิดไปร้อยละ 10 แต่ถ้าพื้นที่หน้าตัดของอุปกรณ์วัดปริมาตรเท่ากับ 0.1 cm 2 ความสูงที่อ่านได้จะเท่ากับ 10 cm ถ้า อ่านค่าความสูงผิดไป 0.1 cm เท่าเดิม ปริมาตรที่อ่านผิดไปคิดเป็นเพียงแค่ร้อยละ 1 9. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 1.15 จากนั้นตั้งคำ�ถามว่า อุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์ ทั้งสองมีค่าเท่าใด ซึ่งนักเรียนอาจตอบว่า อ่านค่าได้ 26.22 และ 26.0 องศาเซลเซียส ตามลำ�ดับ เพื่อ นำ�เข้าสู่การอธิบายความหมายของเลขนัยสำ�คัญ 10. ครูอธิบายเกี่ยวกับหลักการนับเลขนัยสำ�คัญ การปัดเศษ และเลขนัยสำ�คัญของผลลัพธ์ ที่ได้จากการคำ�นวณ ทั้งนี้ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจระหว่างการให้ความรู้ แต่ละขั้น ชั่งมวลของสารได้ 76.98 และ 34.9 กรัม ตามลำ�ดับ ผลรวมของมวลสารเป็นเท่าใด ในการบวก ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำ�นวนตัวเลขหลังทศนิยมเท่ากับข้อมูลที่น้อยที่สุด ดังนั้น ผลรวมของวัตถุทั้งสองเท่ากับ 111.9 กรัม ตรวจสอบความเข้าใจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4