คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

22 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี เล่ม 1 1.3 การวัดปริมาณสาร จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำ�ปฏิบัติการ และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 2. อ่านค่าปริมาณต่าง ๆ ของสาร สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ตัวอย่างผลการทดลองที่มีการกระจายตัวของข้อมูลแตกต่างกัน เพื่อนำ�ไปสู่การวิเคราะห์เกี่ยวกับ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากความเที่ยงและความแม่น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนพิจารณาค่าที่วัดได้จากการทดลองในรูป 1.6 แล้วตั้งคำ�ถามว่า ข้อมูลชุดใด มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะเหตุใด เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ความน่าเชื่อถือของข้อมูลสามารถ พิจารณาได้จาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยงและความแม่น โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกัน ของค่าที่ได้จากการวัดซ้ำ� ส่วนความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ำ�เทียบกับค่าจริง ดังนั้นข้อมูลชุด ง มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากมีความเที่ยงและความแม่นสูงที่สุด 2. ครูตั้งคำ�ถามว่า ข้อมูลแต่ละชุดมีความเที่ยงและความแม่นแตกต่างกันเพราะเหตุใด ซึ่งควร ได้คำ�ตอบว่า ความเที่ยงและความแม่นของข้อมูลขึ้นกับทักษะของผู้ทดลอง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ทำ�ปฏิบัติการ 3. ครูใช้คำ�ถามนำ�ว่า ถ้าจะแบ่งกลุ่มอุปกรณ์วัดปริมาตร ได้แก่ บีกเกอร์ ขวดรูปกรวย กระบอกตวง ปิเปตต์ บิวเรตต์ และขวดกำ�หนดปริมาตร โดยใช้ความแม่นเป็นเกณฑ์ จะสามารถแบ่งได้เป็นกี่กลุ่ม และอุปกรณ์ในแต่ละกลุ่มมีอะไรบ้าง โดยครูอาจแสดงรูปอุปกรณ์ประกอบ เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องอุปกรณ์ วัดปริมาตร ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น เมื่อถ่ายเทของเหลวออกจากปิเปตต์ จะต้องทำ�ให้ของเหลวออกจากปิเปตต์ จนหมด ปิเปตต์ที่ใช้งานในระดับมัธยมศึกษา เป็นแบบ ถ่ายเทของเหลวออกจากปิเปตต์แล้วไม่ต้องเป่าให้ ของเหลวออกจนหมด ความเข้าใจที่ถูกต้อง ความเข้าใจคลาดเคลื่อน

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4