คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
13 บทที่ 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี เคมี เล่ม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6. ครูอธิบายว่าหากต้องการข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับสารเคมี สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเอกสาร ความปลอดภัย (safety data sheet, SDS) ของสารเคมีนั้น ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เนต เกี่ยวกับ HCl ทำ�ได้โดยใช้คำ�สำ�คัญว่า “SDS HCl” หรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เช่น http://www.chemtrack.org 7. ครูอาจให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเสนอแนะ โดยนักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูลเอกสารความ ปลอดภัยของสารเคมี แล้วระบุข้อมูลเบื้องต้น เช่น การป้องกันตนเอง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 8. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในการทำ�ปฏิบัติการเคมี ทั้งก่อนทำ� ปฏิบัติการ และขณะทำ�ปฏิบัติการว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า ข้อควรปฏิบัติก่อนการทำ�ปฏิบัติ การเคมี เช่น ศึกษาขั้นตอนการทำ�ปฏิบัติการ ศึกษาข้อมูลสารเคมี ข้อควรปฏิบัติขณะทำ�ปฏิบัติ การเคมี เช่น แต่งกายให้เหมาะสม โดยสวมแว่นตานิรภัย ใส่เสื้อคลุมปฏิบัติการ สวมถุงมือ จากนั้นครู อธิบายเพิ่มเติมตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 9. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการกำ�จัดสารเคมีที่ใช้แล้วหรือที่เหลือใช้จากการทำ� ปฏิบัติการเคมี ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน 10. ครูตั้งคำ�ถามว่า สารประกอบของโลหะเป็นพิษ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ที่ใช้แล้วหรือที่เหลือ ใช้จากการทำ�ปฏิบัติการเคมี เมื่อรวบรวมไว้แล้วเทลงอ่างน้ำ�ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบ ว่า ไม่ได้ เพราะจะทำ�ให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษจึงควรส่งให้บริษัทรับกำ�จัดสารเคมี จากนั้นครูเชื่อมโยง ว่านอกจากการกำ�จัดสารเคมีที่ถูกวิธีแล้ว ยังมีวิธีการอื่นที่สามารถนำ�มาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่น ออกแบบการทดลองที่ไม่ก่อให้เกิดของเสียที่เป็นอันตราย เลือกใช้ สารเคมีและปฏิกิริยาเคมีที่ปลอดภัยและมีความคุ้มค่าในการใช้พลังงาน ใช้อุปกรณ์ทดแทนสำ�หรับทำ� ปฏิบัติการแบบย่อส่วน เพื่อเป็นการลดการใช้สารเคมีและพลังงาน อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณของ เสียที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย 11. ครูให้นักเรียนสะท้อนความรู้ความเข้าใจและแสดงถึงความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำ�ปฏิบัติการเคมี และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปความรู้ และ นำ�เสนอในรูปแบบที่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับผู้อื่นได้ดี เช่น แผนผัง แผ่นพับ วีดิทัศน์ 12. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 1.1 เพื่อทบทวนความรู้ 13. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยยกตัวอย่างข่าว สถานการณ์หรือปัญหาซึ่งอาจเป็น ข้อความ ภาพ หรือวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุจากสารเคมี เช่น ภาพข่าวคน ถูกน้ำ�กรดสาด คนบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกรณีแก๊สแอมโมเนียรั่วจากห้องทำ�ความเย็น เพื่อนำ�เข้าสู่ การอภิปรายถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4