คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

198 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 3. เขียนสูตรโมเลกุลตามกฎออกเตตและชื่อของสารโคเวเลนต์ที่เกิดระหว่างธาตุต่อไปนี้ 3.1 สารหนูกับคลอรีน AsCl 3 อาร์เซนิกไตรคลอไรด์ (arsenic trichloride) 3.2 ซิลิคอนกับฟลูออรีน SiF 4 ซิลิคอนเตตระฟลูออไรด์ (silicon tetrafluoride) 3.3.3 ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. วิเคราะห์และเปรียบเทียบความยาวพันธะและพลังงานพันธะในสารโคเวเลนต์ 2. คำ�นวณพลังงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของสารโคเวเลนต์จากพลังงานพันธะ สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ วีดิทัศน์หรือกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจน แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือกราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลแก๊ส ไฮโดรเจน ในรูป 3.9 แล้วอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ความยาวพันธะเป็นระยะห่างระหว่าง นิวเคลียสที่ทำ�ให้พลังงานศักย์รวมต่ำ�ที่สุด 2. ครูให้นักเรียนพิจารณาความยาวพันธะ O−H ในโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน เช่น H 2 O CH 3 OH HNO 2 ในตาราง 3.11 ซึ่งพบว่าพันธะชนิดเดียวกันในโมเลกุลต่างชนิดกันอาจมีความยาว พันธะไม่เท่ากัน ในการประมาณความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่ง ๆ โดยทั่วไปนิยมใช้ความยาว พันธะเฉลี่ย ดังตาราง 3.12 3. ครูให้นักเรียนเขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลโอโซน (O 3 ) ซึ่งพบว่าสามารถเขียน โครงสร้างลิวอิสได้ 2 โครงสร้าง จากนั้นครูตั้งคำ�ถามว่า พันธะระหว่างออกซิเจนทั้ง 2 พันธะ ใน โครงสร้างลิวอิสแต่ละโครงสร้าง มีความยาวพันธะเท่ากันหรือไม่ ซึ่งน่าจะได้คำ�ตอบว่า ไม่เท่ากัน จากนั้นครูอธิบายผลการศึกษาโดยใช้รูป 3.10 ประกอบการอธิบายว่า พันธะทั้งสองมีความยาวพันธะ เท่ากัน นักวิทยาศาสตร์จึงเสนอว่าโครงสร้างทั้งสองไม่ใช่โครงสร้างโมเลกุลที่แท้จริงของ O 3 แต่เรียก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4