คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

188 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 6. ครูอธิบายเกี่ยวกับพันธะโคเวเลนต์ในสารบางชนิดที่อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะมาจากอะตอมใด อะตอมหนึ่ง เช่น โมเลกุลแอมโมเนีย (NH 3 ) มีเส้นพันธะ N−H 3 พันธะ แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ ในขณะที่อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ แสดงด้วยจุดคู่บนอะตอมไนโตรเจน อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวนี้ สามารถสร้างพันธะกับ H + เกิดเป็นแอมโมเนียมไอออน (NH 4 + ) โดยที่จำ�นวนอิเล็กตรอน รอบอะตอมกลางยังคงเป็นไปตามกฎออกเตต ซึ่งในกรณีนี้พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นมาจากอะตอม ไนโตรเจนเท่านั้น 7. ครูอธิบายเกี่ยวกับสารโคเวเลนต์บางชนิดที่อะตอมกลางมีจำ�นวนอิเล็กตรอนล้อมรอบ ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต โดยยกตัวอย่างโมเลกุลโบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF 3 ) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนล้อมรอบน้อยกว่า 8 และฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (PCl 5 ) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนล้อมรอบมากกว่า 8 8. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 3.6 เพื่อทบทวนความรู้ 9. ครูยกตัวอย่างสารโคเวเลนต์แล้วให้นักเรียนเปรียบเทียบค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของธาตุ องค์ประกอบในสารนั้น เพื่อใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการเขียนสูตรโมเลกุลโคเวเลนต์ เช่น CO 2 อะตอมคาร์บอนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าอะตอมออกซิเจน 10. ครูอธิบายหลักการเขียนสูตรโมเลกุลและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ โดยสูตรโมเลกุลของ สารโคเวเลนต์แสดงสัญลักษณ์ของธาตุเรียงลำ�ดับตามค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจากน้อยไปมาก โดยระบุ จำ�นวนอะตอมของธาตุที่มีจำ�นวนมากกว่า 1 อะตอม ส่วนการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ให้เรียกธาตุตาม ลำ�ดับจากซ้ายไปขวา ถ้ามีสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากธาตุองค์ประกอบเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด ต้อง ระบุจำ�นวนอะตอมธาตุองค์ประกอบด้วยคำ�ระบุจำ�นวนในภาษากรีกตามตาราง 3.9 11. ครูให้นักเรียนศึกษาสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์จากตาราง 3.10 และอาจให้ นักเรียนทำ�กิจกรรมเพื่อศึกษาสูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ ดังตัวอย่างกิจกรรม 3 และ กิจกรรม 4 ซึ่งเป็นตัวอย่างกิจกรรมเสนอแนะสำ�หรับครูดังนี้ เขียนโครงสร้างลิวอิสของคาร์บอนิลคลอไรด์ (COCl 2 ) ตรวจสอบความเข้าใจ Cl Cl C C O O Cl Cl สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4