คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

187 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 3.3 พันธะโคเวเลนต์ 3.3.1 การเกิดพันธะโคเวเลนต์ 3.3.2 สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ด้วยโครงสร้างลิวอิส 2. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารโคเวเลนต์ แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูยกตัวอย่างสารโคเวเลนต์ เช่น โมเลกุลแก๊สออกซิเจน (O 2 ) แล้วตั้งคำ�ถามว่า การเกิด พันธะเคมีระหว่างอะตอมของออกซิเจนมีการเปลี่ยนแปลงของเวเลนซ์อิเล็กตรอนเหมือนหรือ ต่างจากพันธะไอออนิกหรือไม่ ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ต่างกัน เนื่องจากการเกิดพันธะเคมีของโมเลกุล แก๊สออกซิเจนไม่ได้เกิดจากการให้หรือรับอิเล็กตรอน แต่เป็นการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2. ครูให้ความหมายของพันธะโคเวเลนต์ว่าเป็นการยึดเหนี่ยวของอะตอมโดยใช้เวเลนซ์ อิเล็กตรอนร่วมกัน และเรียกสารที่เกิดจากพันธะโคเวเลนต์ว่า สารโคเวเลนต์ 3. ครูอธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์โดยใช้แผนภาพและสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส ประกอบการอธิบาย โดยยกตัวอย่างการเกิดพันธะในโมเลกุลแก๊สคลอรีน (Cl 2 ) แก๊สออกซิเจน (O 2 ) และแก๊สไนโตรเจน (N 2 ) ซึ่งเป็นการเกิดพันธะโคเวเลนต์แบบพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม ตามลำ�ดับ จากนั้นให้ความรู้เกี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะซึ่งเป็นอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในการ เกิดพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวซึ่งเป็นอิเล็กตรอนคู่ที่ไม่ได้เกิดพันธะ 4. ครูให้นักเรียนพิจารณาการเขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลโคเวเลนต์บางชนิดจากตาราง 3.8 จากนั้นชี้ให้เห็นว่า การเขียนแสดงโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอม อะตอมกลางจะเป็นธาตุที่ต้องการจำ�นวนอิเล็กตรอนมากที่สุดเพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต ในกรณีที่มีธาตุที่ต้องการจำ�นวนอิเล็กตรอนเท่ากัน ธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ�ที่สุดจะเป็น อะตอมกลาง 5. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4