คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
174 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 3.2.4 สมบัติของสารประกอบไอออนิก 3.2.5 สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก 2. เขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิของปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ วีดิทัศน์หรือภาพประกอบเมื่อทำ�การทุบผลึกของสารประกอบไอออนิกและการเปลี่ยนแปลง ของไอออนในโครงผลึก แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์หรือภาพประกอบเมื่อทำ�การทุบผลึกของสารประกอบไอออนิกและ การเปลี่ยนแปลงของไอออนในโครงผลึก จากนั้นครูตั้งคำ�ถามนำ�ว่า เพราะเหตุใดเมื่อทุบผลึกของ สารประกอบไอออนิก แล้วผลึกของสารประกอบไอออนิกจึงแตก เพื่อนำ�เข้าสู่การศึกษาสมบัติของ สารประกอบไอออนิก 2. ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้รูป 3.5 ประกอบการอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า การ ที่ผลึกแตกเนื่องจากการเลื่อนตำ�แหน่งเพียงเล็กน้อยของไอออนเมื่อมีแรงกระทำ� อาจทำ�ให้ไอออน ชนิดเดียวกันเลื่อนไถลไปอยู่ตำ�แหน่งตรงกัน จึงเกิดแรงผลักระหว่างกัน สารประกอบไอออนิกจึงมี สมบัติเปราะและแตกหักได้ง่าย 3. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 3.6 และตาราง 3.7 จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้ ข้อสรุปเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิกสถานะของแข็งไม่นำ� ไฟฟ้า เนื่องจากไอออนที่เป็นองค์ประกอบยึดเหนี่ยวกันอย่างแข็งแรงไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่ เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำ�จะนำ�ไฟฟ้าได้ เนื่องจากไอออนสามารถเคลื่อนที่ได้ นอกจากนี้ สารประกอบไอออนิกที่มีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ส่วนใหญ่ละลายน้ำ�ได้ ความเข้าใจคลาดเคลื่อน สารประกอบไอออนิกสถานะของแข็งนำ�ไฟฟ้า ได้ สารประกอบไอออนิกนำ�ไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลว หรือละลายในน้ำ� ความเข้าใจที่ถูกต้อง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4