คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

153 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 3.2 พันธะไอออนิก 3.2.1 การเกิดพันธะไอออนิก 3.2.2 สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายการเกิดไอออนและการเกิดพันธะไอออนิก โดยใช้แผนภาพหรือสัญลักษณ์แบบจุด ของลิวอิส 2. อธิบายโครงสร้างของสารประกอบไอออนิก 3. เขียนสูตรและเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ แบบจำ�ลองหรือภาพโครงผลึกของสารประกอบไอออนิก แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูยกตัวอย่างสูตรเคมีของสารประกอบไอออนิก เช่น NaCl CaF ₂ KI แล้วตั้งคำ�ถามว่า สารที่ยกตัวอย่างประกอบด้วยธาตุองค์ประกอบชนิดใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ประกอบด้วยธาตุโลหะ กับธาตุอโลหะ จากนั้นครูอธิบายว่า ธาตุโลหะมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ� จึงเสียอิเล็กตรอนเกิดเป็น ไอออนบวกได้ง่าย ส่วนธาตุอโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง จึงรับอิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออนลบ ไอออนบวกและไอออนลบมีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า เรียกการยึดเหนี่ยวนี้ว่า พันธะไอออนิก และเรียกสารที่เกิดจากพันธะไอออนิกว่า สารประกอบไอออนิก 2. ครูอธิบายการเกิดพันธะไอออนิกโดยเริ่มจากเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอน แบบจำ�ลอง อะตอมของโบร์ และสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Na และ Na + แล้วให้นักเรียนพิจารณา สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของ Na พบว่ามี 1 จุด และเมื่อเสียอิเล็กตรอน สัญลักษณ์แบบจุดของ ความเข้าใจคลาดเคลื่อน พันธะระหว่างธาตุโลหะกับธาตุอโลหะเป็น พันธะไอออนิกเท่านั้น พันธะระหว่ า ง ธาตุ โ ลหะกับธาตุอ โ ลหะ บางชนิดอาจเป็นพันธะโคเวเลนต์ เช่น AlCl ₃ BeCl ₂ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4