คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1

148 บทที่ 3 | พันธะเคมี เคมี เล่ม 1 สารในชีวิตประจำ�วัน ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว แต่จะประกอบด้วยหลายอะตอม ซึ่ง อาจเป็นอะตอมชนิดเดียวกันหรืออะตอมต่างชนิดกัน ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเคมี โดยพันธะเคมีมี 3 ประเภท ได้แก่ พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์ และพันธะโลหะ เกิดเป็นสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ ตามลำ�ดับ พันธะไอออนิกเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างประจุไฟฟ้าของไอออนบวกกับไอออนลบ ซึ่ง ส่วนใหญ่ไอออนบวกเกิดจากโลหะเสียอิเล็กตรอนและไอออนลบเกิดจากอโลหะรับอิเล็กตรอน เกิด เป็นสารประกอบไอออนิกที่ส่วนใหญ่เป็นผลึกของแข็ง เปราะ มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ละลายน้ำ�ได้ ไม่นำ�ไฟฟ้าเมื่อเป็นของแข็ง แต่นำ�ไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือละลายในน้ำ� พันธะโคเวเลนต์เกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมธาตุ 2 อะตอม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธาตุ อโลหะ โดยการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน เกิดเป็นสารโคเวเลนต์ที่ส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลวและ จุดเดือดต่ำ� ไม่ละลายน้ำ� และไม่นำ�ไฟฟ้า ส่วนสารที่มีพันธะโคเวเลนต์ต่อเนื่องกันไปในสามมิติเป็น สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่ายที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง พันธะโลหะเกิดจากการยึดเหนี่ยวระหว่างโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมธาตุโลหะกับ เวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปทั่วทั้งชิ้นโลหะ โดยโลหะส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีผิวมันวาว ตีเป็น แผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำ�ความร้อนและนำ�ไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง การที่สารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ มีสมบัติเฉพาะตัวบางประการที่ต่างกัน จึงสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 25 ชั่วโมง 3.1 สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต 1 ชั่วโมง 3.2 พันธะไอออนิก 9 ชั่วโมง 3.3 พันธะโคเวเลนต์ 11 ชั่วโมง 3.4 พันธะโลหะ 2 ชั่วโมง 3.5 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก สารโคเวเลนต์ และโลหะ 2 ชั่วโมง อะตอม ไอออน การจัดเรียงอิเล็กตรอน เวเลนซ์อิเล็กตรอน และสมบัติของธาตุหมู่หลัก ตามตารางธาตุ สาระสำ�คัญ เวลาที่ใช้ ความรู้ก่อนเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4