คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

8. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ 9. ครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 10.4 การทดลองหาความเข้มข้นของสารละลายจากการ ไทเทรตกรด-เบส โดยใช้อินดิเคเตอร์บอกจุดยุติ แล้วให้นักเรียนอภิปรายผลการทดลองโดยใช้ คำ�ถามท้ายการทดลอง ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู การไทเทรตกรดอ่อนกับเบสอ่อน เช่น สารละลายกรดแอซีติก (CH 3 COOH) กับสารละลาย แอมโมเนีย (NH 3 ) มีกราฟการไทเทรต ดังรูป จากกราฟจะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลง pH ระหว่างไทเทรตเพิ่มขึ้นทีละน้อย และช่วงที่ pH มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นมีความชันน้อย การหาจุดสมมูลจากกราฟการไทเทรตจึง ค่อนข้างยากและไม่เที่ยง ซึ่งส่งผลต่อการเลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสำ�หรับบอกจุดยุติ ในทาง ปฏิบัติ จึงไม่นิยมทำ�การไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน ตรวจสอบความเข้าใจ อินดิเคเตอร์ใดบ้างที่เหมาะสมสำ�หรับใช้ในการไทเทรตระหว่างสารละลายแอมโมเนีย (NH 3 ) กับ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) โดยพิจารณาจากกราฟการไทเทรตในรูป 10.13 และช่วง pH การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ในรูป 10.14 อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมคือ เมทิลออเรนจ์และเมทิลเรด 14 13 12 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 5 10 15 20 25 30 35 40 ปริมาตรสารละลาย NH 3 (mL) pH สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 | กรด-เบส เคมี เล่ม 4 74

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4