คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

10.7 การไทเทรตกรด-เบส จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ทดลองและอธิบายหลักการการไทเทรต 2. เลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมสำ�หรับการไทเทรตกรด-เบส 3. คำ�นวณปริมาณสารหรือความเข้มข้นของสารละลายกรดหรือเบสจากการไทเทรต ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาสะเทิน จากนั้นให้ความรู้ว่า ปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรด และเบสสามารถนำ�มาใช้หาความเข้มข้นของสารละลายที่ไม่ทราบความเข้มข้น โดยใช้วิธีการที่ เรียกว่า การไทเทรต 2. ครูอธิบายความหมายของการไทเทรต จุดสมมูล และสารละลายมาตรฐาน ตามรายละเอียด ในหนังสือเรียน และให้ความรู้ว่า การไทเทรตสารละลายอาจติดตามปริมาตรสารละลายมาตรฐานที่ ทราบความเข้มข้นแน่นอนหรือปริมาตรสารละลายที่ต้องการหาความเข้มข้นได้ 3. ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 10.10 และใช้คำ�ถามว่าสารละลายที่ต้องการติดตามปริมาตรควร บรรจุอยู่ที่ใด ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า บรรจุอยู่ในบิวเรตต์ 4. ครูอธิบายการหาจุดสมมูลจากกราฟการไทเทรตกรด-เบส และแสดงการคำ�นวณความเข้มข้น จากปริมาตรของสารละลายที่ใช้ไทเทรต ณ จุดสมมูล ทั้ง 3 กรณีคือการไทเทรตกรดแก่กับเบสแก่โดย ใช้รูป 10.11 กรดอ่อนกับเบสแก่โดยใช้รูป 10.12 และกรดแก่กับเบสอ่อนโดยใช้รูป 10.13 ตามราย ละเอียดในหนังสือเรียน ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง จุดสมมูลและจุดยุติเป็นจุดเดียวกัน จุดสมมูลและจุดยุติต่างกันแต่อาจใกล้เคียง กันได้ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์อย่างเหมาะสม จุดสมมูลของการไทเทรตมี pH เป็นกลาง จุดสมมูลของการไทเทรตอาจมี pH เป็นกลาง กรด หรือเบส ขึ้นอยู่กับความแรงของกรดและ เบสที่นำ�มาทำ�ปฏิกิริยากัน กรดอ่อนเมื่อนำ�มาไทเทรตจะใช้ปริมาตรของ สารละลายเบสที่เติมลงไปทำ�ปฏิกิริยาน้อย กว่ากรดแก่ที่มีความเข้มข้นเท่ากันเพราะ กรดอ่อนแตกตัวได้น้อย กรดอ่อนเมื่อนำ�มาไทเทรตจะใช้ปริมาตรของ สารละลายเบสที่เติมลงไปทำ�ปฏิกิริยาเท่ากับ กรดแก่ที่มีความเข้มข้นเท่ากัน เนื่องจากกรด อ่อนจะแตกตัวให้ H + จนทำ�ปฏิกิริยากับ OH - จากเบสจนหมด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 | กรด-เบส เคมี เล่ม 4 64

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4