คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4

5. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 10.4 เพื่อทบทวนความรู้ ตรวจสอบความเข้าใจ จากกิจกรรม 10.2 ไอออนที่ได้จากการละลายของเกลือแต่ละชนิดในน้ำ�ทำ�ปฏิกิริยา กับน้ำ�แตกต่างกันอย่างไร และสอดคล้องกับสมบัติกรด-เบสของสารละลายเกลืออย่างไร เกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) เมื่อละลายน้ำ�แตกตัวให้ Na + และ Cl - ซึ่งไอออนทั้งสองชนิด ไม่สามารถให้หรือรับโปรตอนจากน้ำ�ได้ จึงไม่ทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ� สอดคล้องกับสมบัติของ สารละลายเกลือ NaCl ซึ่งมีสมบัติเป็นกลาง เกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH 4 Cl) เมื่อละลายน้ำ�แตกตัวให้ NH 4 + และ Cl - NH 4 + เป็น คู่กรดของ NH 3 ซึ่งเป็นเบสอ่อน NH 4 + จึงให้โปรตอนกับน้ำ�ได้ H 3 O + ดังสมการเคมี NH 4 + (aq) + H 2 O(l) NH 3 (aq) + H 3 O + (aq) สอดคล้องกับสมบัติของสารละลายเกลือ NH 4 Cl ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด เกลือแอมโมเนียมแอซีเตต (CH 3 COONa) เมื่อละลายน้ำ�แตกตัวให้ Na + และ CH 3 COO - ซึ่ง Na + ไม่สามารถให้หรือรับโปรตอนจากน้ำ�ได้ ส่วน CH 3 COO - เป็นคู่เบสของ CH 3 COOH ซึ่งเป็น กรดอ่อน CH 3 COO - จึงรับโปรตอนจากน้ำ�ให้ OH - ดังสมการเคมี CH 3 COO - (aq) + H 2 O(l CH 3 COOH(aq) + OH - (aq) สอดคล้องกับสมบัติของสารละลายเกลือ CH 3 COONa ซึ่งมีสมบัติเป็นเบส แนวทางการวัดและประเมินผล 1. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติกรด-เบสของสารละลายเกลือและการเขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยา ไฮโดรลิซิสของเกลือ จากรายงานการทดลอง การอภิปราย การทำ�แบบฝึกหัด และการทดสอบ 2. ทักษะการทดลองและการสังเกต จากการสังเกตพฤติกรรมในการทำ�การทดลอง และรายงาน การทดลอง 3. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการอภิปราย 4. ทักษะการการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ จากการทำ�การทดลอง และการอภิปราย 5. ทักษะความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและภาวะผู้นำ� จากการสังเกตพฤติกรรมในการ ทำ�การทดลอง 6. จิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้างและการใช้วิจารณญาณ จากการสังเกตพฤติกรรมใน การอภิปราย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 |กรด-เบส เคมี เล่ม 4 47

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4