คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 4
10. ครูอธิบายวิธีการคำ�นวณความเข้มข้นของไอออนในสารละลายกรดแก่และเบสแก่ โดยใช้ ตัวอย่าง 2 และ 3 ในหนังสือเรียน 11. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ ตรวจสอบความเข้าใจ 1. สารละลายกรดไฮโดรไอโอดิก (HI) ปริมาตร 500 มิลลิลิตร มีไอโอไดด์ไอออน (I - ) เข้มข้น 0.2 โมลต่อลิตร จะมีไฮโดรเนียมไอออน (H 3 O + ) กี่โมล สมการเคมีแสดงการแตกตัวเป็นไอออนของสารละลาย HI ซึ่งเป็นกรดแก่ เป็นดังนี้ HI(aq) + H 2 O(l) H 3 O + (aq) + I - (aq) คำ�นวณจำ�นวนโมลของ H 3 O + จำ�นวนโมลของ H 3 O + = 0.2 mol I - 1000 mL sol n × 500 mL sol n × 1 mol H 3 O + 1 mol I - = 0.1 mol H 3 O + ดังนั้น สารละลายกรดไฮโดรไอโอดิกมีไฮโดรเนียมไอออน 0.1 โมล 2. ถ้าต้องการเตรียมสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ที่มีความเข้มข้นของ ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH - ) ในสารละลายเท่ากับ 0.50 โมลต่อลิตร ปริมาตร 250.00 มิลลิลิตร จะต้องใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์กี่กรัม สมการเคมีแสดงการแตกตัวเป็นไอออนของสารละลาย KOH ซึ่งเป็นเบสแก่ เป็นดังนี้ KOH(aq) K + (aq) + OH - (aq) คำ�นวณมวลของ KOH ที่ต้องใช้ มวล KOH = 0.50 mol OH - 1000 mL sol n × 250.00 mL sol n × 1 mol KOH 1 mol OH - × 56.11 g KOH 1 mol KOH = 7.0 g KOH ดังนั้น ต้องใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์มวล 7.0 กรัม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 10 |กรด-เบส เคมี เล่ม 4 21
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4